วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากเกี่ยวกับการสื่อสารในปัจจุบัน จากการที่การคมนาคมสื่อสารเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก คนต่างชาติต่างภาษามีการติดต่อกันมากขึ้น การแปลจึงมีความสำคัญ เพราะประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในด้านต่างๆมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากที่ผู้ติดต่อจะต้องมีความคล่องแคล่วในด้านการแปลภาษา จึงกล่าวได้ว่าการแปลภาษาสามารถยึดเป็นอาชีพได้และเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศได้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี นอกจากนั้น การแปลจะช่วยลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากการมีวัฒนธรรมแตกต่างกันและสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก                                                                                               
การใช้ภาษาอังกฤษในหน่วยงานต่างๆมีปริมาณการใช้มากที่สุด เพราะ หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ และมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีตำราเอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา
ประเทศต่างๆล้วนมีภาษาที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความจำเป็นในการที่ต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งเพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศที่ใช้ภาษาต่างกันสามารถทำความเข้าใจกันได้
การแปลในประเทศไทย
                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี การท่องเที่ยวซึ่งนำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก และในด้านวิชาการต่างๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษา นักธุรกิจ และนักการเมืองในการศึกษาหาความรู้หรือเดินทางไปต่างประเทศ จึงส่งผลให้ความต้องการด้านการแปลเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดเวลา รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้ให้คุ้มกับเวลาที่จะใช้การแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
                การแปล คือ การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆ รวมทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามฉบับเดิม การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น คือ ในส่วนที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา แต่ในส่วนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะประดิษฐ์งานแปลให้มีคุณภาพนั้นไม่อาจสอนได้
คุณสมบัติของผู้แปล
ผู้แปลควรมีลักษณะ ดังนี้
-                   รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษา มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี มีความสามารถในการใช้ภาษา
-                   รักการอ่าน ค้นคว้า    มีความอดทน มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
-               มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง                                                                                     นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล  คือ
-             เป้าหมายสำคัญของการสอนแปล คือ การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
-             การสอนแปลให้ได้ผลจริง ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจสามารถจับใจความสำคัญได้
-             ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
-             ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
บทบาทของการแปล
                      การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร(receiver)ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกที่หนึ่ง ซึ่งมีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ลักษณะของงานแปลที่ดี  
                      งานแปลที่ดีควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจน สละสลวย ความหมายถูกต้องกระชับความ ครบถ้วน ใช้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นชัดเจน ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม มีการรักษาแบบหรือสไตล์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
                      คือ  ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ และควรใช้การแปลแบบตีความ คือ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
                      การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ 1. การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน      2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ 
                      การใช้ปัจจุบันกาล ควรพิจารณา 2 กาล คือ ปัจจุบันกาล (Simple Present) และอนาคตกาล (Progressive Present) คือ เป็นการกระทำที่เป็นนิสัย (Habitual action), การกระทำตามกฎธรรมชาติ(Natural law), สถานภาพของปัจจุบันกาล(The Simple Present of State), อนาคตกาล(Future action), ปัจจุบันกาล(The Simple Present), การเล่าเรื่องที่เกิดในปัจจุบัน(The Narrative Present)    
                      การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยต้องคำนึงถึงความหมาย ดังนี้
1.                   อนาคต การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาลและอนาคตกาล การกระทำในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน การให้ปัจจุบันกาลโดยมีคำว่า always หรือ often
2.                   โครงสร้างประโยคอื่นๆ
3.                   ศัพท์เฉพาะ
4.                   ตีความทำนาย คือ การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วไปมากกว่าการให้คำเหมือนหรือให้ความหมายเหมือนกับในรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน
การแปลกับการตีความจากบริบท
เป็นการแปลโดยดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ เช่น It is possible to show a picture of a “dog” or a “dove” สังเกตว่ารูปภาพจะต้องมีความหมายของสิ่งของที่แตกต่างกัน ความหมายจากสิ่งรอบข้างหรือบริบทของข้อความเป็นรูปนามธรรม ดังนั้น ผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมาย คือ องค์ประกอบของความหมาย, ความหมายและรูปแบบ และประเภทของความหมาย

องค์ประกอบของความหมาย   มีดังนี้
1.             คำศัพท์ ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏ
2.             ไวยากรณ์ คือ แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้ประโยคมีความหมาย
3.             เสียง การนำสียงมารวมทำให้เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์
ความหมายและรูปแบบ  มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
1.             ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.             รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย   นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดไว้ 4 ประเภท คือ
1.                   ความหมายอ้างอิงหรือความหมายโดยตรง คือ ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ
2.              ความหมายแปล คือ ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
3.                   ความหมายตามบริบท แต่ละรูปแบบของภาษามีหลายความหมาย จึงต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมของคำนั้นทั้งหมด
4.                   ความหมายเชิงอุปมา ซึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบทั้งเปรียบเทียบโดยตรงและโดยนัย โดยมีองค์ประกอบ คือ สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ, สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบและประเด็นของการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
                      การเลือกบทแปลควรเลือกตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งทางด้านทักษะ ภาษา และเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล
                      การแปลควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขานั้นๆ ผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนด้วย การเลือกหนังสือที่จะแปล คือ
1.             เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
2.             เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนความละเอียดลึกซึ้งในภาษา
3.             ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น