วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (6th October, 2015)

การฝึกทักษะการอ่าน
(6th October, 2015)
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันใช้สื่อต่างๆในการพัฒนาทักษะการพูด ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากเช่นกัน ดิฉันได้ใช้สื่อต่างๆ ดังนี้ ครั้งแรกดิฉันฝึกทักษะการพูดจากวีดีโอ เรื่อง How to improve your English speaking skills จากนั้น ดิฉันได้ฝึกทักษะการพูดจาก บทสนทนา เรื่อง English Conversation Learn English Speaking English Subtitles และตามด้วยฝึกทักษะการพูดจากการดูบทสนทนา เรื่อง English Conversation 06 ซึ่งสื่อทั้งหมดดังกล่าวที่ดิฉันใช้สำหรับฝึกทักษะการพูด มีความน่าสนใจ และง่ายต่อการเข้าใจและการฝึกพูดตาม ดิฉันใช้รูปแบบการฝึกคล้ายๆกับครั้งอื่นๆที่ผ่านมา คือ การฝึกในครั้งแรก ดิฉันจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อต่างๆก่อนและเริ่มฝึกการพูดจากสื่อนั้นๆ จากนั้นในวันต่อไปก็นำเรื่องที่ฝึกมาทบทวนและฝึกทักษะการพูดอีกครั้ง  ซึ่งก็เป็นการฝึกทักษะการพูดครั้งที่ 2 ที่ดิฉันได้ฝึกมา ฉะนั้นในครั้งนี้ก็จะเป็นการฝึกทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากเช่นกัน สำหรับตัวดิฉันเองมีปัญหาเรื่องการอ่านมาก ดิฉันยังไม่สามารถอ่านบทความหรืองานเขียนต่างๆ ได้อย่างเข้าใจ และตีความหรือสรุปใจความสำคัญของเรื่องต่างๆที่อ่านได้พอสมควร ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการพูดไปแล้ว จึงต้องต่อเนื่องด้วยการฝึกทักษะการอ่าน เพราะทักษะทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กัน และเมื่อดิฉันเริ่มมีทักษะในการพูดมาพอสมควรแล้ว ก็สามารถเป็นพื้นฐานในการอ่านได้มากพอสมควร แต่การฝึกทักษะการอ่านนั้น จะมีความยากมากกว่าการพูด เพราะการอ่านในเรื่องใดๆก็แล้วแต่ เราจะต้องใช้เวลาในการอ่าน การแปลความหมาย การฝึกออกเสียงคำศัพท์ให้ถูกต้อง รวมทั้งการทำความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดี จึงจะรู้และเข้าใจในเรื่องที่อ่าน และสามารถอ่านได้คล่องแคล่ว ไม่ติดขัด ดิฉันจะฝึกทักษะการอ่านตั้งแต่ วันอังคารที่ 6 เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558

Learning log (Noun Clause) Eighth :( 6th October, 2015)

Learning log
Noun Clause
Eighth :( 6th October, 2015)
การเรียนภาษาอังกฤษ สิ่งสำคัญที่ควรรู้และมีความเข้าใจนั่นคือ หลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษซึ่งสิ่งเหล่านั้นสามารถช่วยพัฒนาผู้ศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านทักษะต่างๆ ซึ่งสิ่งเล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับหลักไวยากรณ์เป็นส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าวได้ว่าทั้งหมดก่อนเป็นไปได้ และไม่ใช่เพียงแค่ช่วยพัฒนา ทักษะการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน ของเราเพียงอย่างเดียว แต่การรู้และมีความชำนาญในการใช้หลักไวยากรณ์อย่างถูกก็สามารถเพิ่มพูนความรู้ของเรา สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษได้ในทุกๆรูปแบบและใช้ได้จริงในทุกๆสถานการณ์ที่เราประสบพบเจอ อีกสำคัญประการหนึ่งคือ การแปลความหมายของประโยคภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาไทย ก็จำเป็นต้องแม่นยำและเข้าใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะการแปลจะต้องให้ถูกต้องตามหลักการและความหมายที่ถูกต้องตามประโยคภาษาอังกฤษ  จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้การแปลที่ถูกต้องตามหลักการและประโยคต้นแบบที่แปลมาอย่างมีประสิทธิภาพ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง If-clause ซึ่งเป็นประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) หมายถึง ประโยคที่ผู้พูดสมมติหรือคาดการณ์ขึ้นมาว่า ถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นตามมา ซึ่งประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ (Real Conditions), เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Conditions), เงื่อนไขที่อาจเป็นจริงหรืออาจไม่เป็นจริงก็ได้ (Possible Conditions), เงื่อนไขซึ่งตรงกันข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว (Unreal Conditions) ซึ่งจะเกิดการสับสนในการแปลเป็นอย่างมาก ในทางเดียวกัน เรื่องที่ดิฉันจะศึกษาเพิ่มเติมจากในห้องเรียนนั่นก็คือ เรื่อง Noun Clause ซึ่งมีความยากในการแปลมากเช่นกัน ฉะนั้นดิฉันจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจให้มากขึ้น

การศึกษานอกห้องเรียน (29th September, 2015)

การฝึกทักษะการพูด
(29th  September, 2015)
                การฝึกทักษะการฟังในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้พัฒนาการฟังไปได้ในระดับที่ดีขึ้น ซึ่งดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังจาก จากการฟังเพลง Crush ของศิลปิน David Archuleta, ฝึกทักษะการฟังจากการดูละครเรื่อง Antony and Cleopatra, ฝึกทักษะการฟังจากการฟังเพลง I'm Yours ของศิลปิน Jason Mraz และฝึกทักษะการฟังจากการฟังวีดิโอการสอนเกี่ยวกับเรื่อง Learn English Listening Skills - How to understand native English speakers ซึ่งสื่อที่ดิฉันใช้ฝึกในแต่ละครั้งมีเนื้อหาที่ดีมาก  เริ่มจากการฝึกทักษะจากเพลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าดิฉันได้พัฒนาทักษะการฟังเพิ่มขึ้น หรือมันอาจจะเกิดจากความเคยชินที่ดิฉันฟังและแปลเพลงนั้นหลายๆครั้ง ดิฉันถือว่าดิฉันได้พัฒนาสิ่งเหล่านี้ควบคู่กันไป ต่อด้วยการฝึกจากการดูละคร  ซึ่งการฝึกทักษะในครั้งนี้ดิฉันได้ฝึกทั้งการฟัง การอ่าน อีกทั้งได้ฝึกการแปลภาษาด้วย รวมทั้งได้รับความสนุกสนานความตื่นเต้น ตลอดระยะเวลา สามชั่วโมงที่นั่งดู และการฟัง วีดิโอพัฒนาทักษะความสามารถในการฟัง ซึ่งเป็นทั้งการพัฒนาทักษะการฟังและได้เรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาการฟังซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียน หากมีการฝึกทักษะการฟังแล้วก็จะต่อด้วยการฝึกทักษะการพูด ฉะนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันจะฝึกทักษะการพูด ซึ่งเป็นการฝึกรอบที่ 2 การพูดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก่อนที่เราจะพูดได้คล่องแคล่ว โดยไม่ติดขัด มันจะต้องเกิดจากการมีทักษะการพูดที่ดีรวมทั้ง การมีความรู้ในด้านเนื้อหาและหลักการที่ถูกต้องต่างๆที่เราพูดออกไป ดิฉันจะฝึกทักษะการพูดตั้งแต่ วันอังคารที่ 29 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2558

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (22nd September, 2015)

การฝึกทักษะการฟัง
(22nd September, 2015)
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียน ดิฉันคิดว่าได้พัฒนาทักษะการเขียนของดิฉันไปได้ขึ้นในระดับที่ดีพอสมควร ซึ่งทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ฝึกยากที่สุดเพราะจะต้องใช้เวลาในการฝึกมาก จะต้องใช้วิธีการฝึกอย่างเป็นลำดับขั้นตอนอย่างมากที่สุด ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนดังกล่าวจากการอ่านนิทานอีสปเรื่อง The Fox without a Tail, การเขียนโดยการเขียนบันทึกกิจวัตรประจำวันของดิฉันเอง, จากการเขียน เรียงความเรื่อง Father’s Day  ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านๆมาดิฉันก็ได้ฝึกทักษะครบทั้งสี่ทักษะแล้ว ก็คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ฉะนั้นดิฉันคิดว่าจะฝึกทั้งสี่ทักษะเหล่านี้ วนเวียนกันไปเรื่อยๆในทุกสัปดาห์เพิ่มเพิ่มพูนทักษะทั้งสี่ของดิฉันเอง และจะไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการฝึกแต่ละครั้ง เพราะแต่ละสัปดาห์จะเปลี่ยนแปลงทักษะที่ฝึกอยู่ตลอดหรือบางทักษะที่มีความยาก เช่น การอ่านและการเขียน อาจจะฝึกติดกันสองสัปดาห์ ซึ่งจะได้ไม่ซ้ำซาก จำเจ ดังนั้นในสัปดาห์นี้ก็เป็นสัปดาห์ของการฝึกทักษะการฟัง ทักษะการฟังของดิฉันยังไม่ดีเท่าทีควร ในการเรียนแต่ละครั้ง ไม่ว่ากับครูไทยหรือครูชาวต่างชาติ บางครั้งดิฉันก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ครูพูด หรือบางครั้งเมื่อครูเปิดเทป วีดิโอ ที่เป็นภาษาอังกฤษ ดิฉันก็ยังฟังและสรุปเรื่องที่เขาพูดได้ไม่ค่อยถูกต้องและชัดเจนเท่าที่ควร ดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังตั้งแต่ วันอังคารที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 28 เดือน กันยายน พ.ศ.2558

Learning log (If-Clause) Seventh : (22nd September, 2015)

Learning log
(If-Clause)
Seventh : (22nd September, 2015)

การศึกษาหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง และประสบความสำเร็จ การที่เราแม่นและเข้าใจในหลักไวยากรณ์ต่างๆในภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจ เป็นการช่วยส่งเสริมทักษะทั้งสี่อย่างของเราให้ดีขึ้นด้วย กล่าวคือ ถ้าหากเรามีความรู้ในด้านหลักไวยากรณ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราฟัง เราอาจจะไม่เข้าใจหรือฟังไม่ชัดแต่เราก็สามารถใช้ความรู้ทางด้านไวยากรณ์ในการเดาหรือแปลความหมายของสิ่งที่เราฟังได้ ส่วนการพูด ส่วนใหญ่คนไทยจะไม่กล้าสนทนากับชาวต่างชาติ หรือกับคนไทยด้วยกันผู้ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านภาษาอังกฤษ เพราะกลัวว่าสิ่งที่พูดออกไปอาจจะไม่ถูกหลักไวยากรณ์ กลัวว่าผู้ที่ร่วมสนทนาจะไม่เข้าใจ จึงเขินอายและกลัวที่จะพูดภาษาอังกฤษ แต่ถ้าหากเรามีความรู้ในหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเยอะ ก็สามารถนำมาปรับใช้ในการสนทนา ทำให้มีความมั่นใจและกล้าที่จะสนทนาโต้ตอบกับชาวต่างชาติ และคนอื่นๆมากขึ้น และการอ่าน การรู้และเข้าใจหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็มีความสำคัญต่อการอ่านด้วยเช่นกัน แต่จะไปในทางการออกเสียง หรือ ที่เรียกว่า Phonetic มากกว่า และที่สำคัญการเขียน เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราควรจะมีความรู้ในด้านหลักไวยากรณ์ให้มากๆ เพราะการเขียนในทุกๆครั้งจะต้องถูกหลักไวยากรณ์ ถ้าหากงานเขียนของเราผิดหลักไวยากรณ์จะเป็นสิ่งที่ใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับทุกๆทักษะทั้งหมด ซึ่งจะทำให้งานเขียนของเราไม่ดี และไม่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากทักษะทั้งสี่อย่างเหล่านี้แล้ว สิ่งสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษให้เข้าใจ นั่นคือการแปลความหมายของประโยคหรืองานเขียนต่างๆได้ ดังนั้นก่อนที่จะได้งานแปลที่มีประสิทธิภาพ เราจะต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องของประโยค (Sentence) หรือ กาลของประโยค (Tense) และคำศัพท์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการแปลความหมายในประโยคหรืองานเขียนภาษาอังกฤษ ในสัปดาห์ที่ผ่านๆมา ดิฉันได้ศึกษา เกี่ยวกับรูปแบบต่างๆของประโยค รวมทั้ง tense ต่างๆ ทั้ง 12 tense ฉะนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง  ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) หรือที่เรียกว่า If-Clause ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีปัญหาในการเขียนและแปลเป็นอย่างมาก