วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

งานแปล นิยายเรื่อง "Robinson Crusoe"

Robinson Crusoe
(First)
การเดินทางทางทะเลครั้งแรกของผม
                ก่อนที่จะเริ่มกล่าวถึงเรื่องของผม ผมอยากจะบอกคุณเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของผมสักเล็กน้อย
                ผมเกิดในปี 1632 ในเมืองนิวยอร์ก ทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ พ่อของผมเป็นชาวเยอรมัน แต่มาอาศัยและทำงานในประเทศอังกฤษ และหลังจากนั้นไม่นานพ่อและแม่ของผมก็แต่งงานกัน แม่ของผมเป็นชาวอังกฤษ สกุลของครอบครัวแม่คือ Robinson ดังนั้น เมื่อผมเกิดมา พวกเขาจึงเรียกผมว่า Robinson ตามแม่ของผมด้วย
                พ่อของผมทำธุรกิจที่ดี ผมจึงได้เข้าเรียนโรงเรียนที่ดี พ่อต้องการให้ผมได้ทำงานที่ดี มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและสะดวกสบาย แต่ผมไม่ต้องการเช่นนั้น ผมต้องการการผจญภัยและใช้ชีวิตแบบน่าตื่นเต้น
                ผมต้องการเป็นทหารเรือและไปในทะเลผมบอกแม่และพ่อของผม พวกเขารู้สึกเสียใจกับเรื่องนี้มาก
                อย่าไปเลยนะพ่อผมพูด ลูกจะไม่มีความสุขเลย ลูกก็รู้ ทหารเรือมีชีวิตที่ลำบากและอันตรายเพราะว่าพ่อรักผม และคิดว่าผมคงไม่มีความสุข พ่อพยายามที่จะลืมเรื่องนี้ให้ได้
                แต่ผมไม่สามารถลืมได้ และประมาณ 1 ปีต่อมา ผมได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งในนิวยอร์ก พ่อของเขามีเรือ และเพื่อนของผมพูดกับผมว่า พวกเราจะล่องเรือไปลอนดอนในวันพรุ่งนี้ ทำไมคุณถึงไม่ไปกับพวกเรา
                หลังจากนั้น ในวันที่ 1 เดือน กันยายน ปี 1651 ผมได้เดินทางไปฮอลล์ (Hull) และในวันรุ่งขึ้น พวกเราก็ได้เดินทางไปลอนดอน

Learning log (First: 7th August, 2015)

Learning log
(First:  7th August, 2015)
การเรียนรู้มี 2 แบบ คือ
          1.             English – learning – conscious คือ การเรียนรู้โดยการรู้ตัว
          2.             English – acquisitions – subconscious (natural learning) คือ การเรียนรู้โดยธรรมชาติ หรือ โดยอัตโนมัติ *ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีการเรียนรู้แบบนี้
กาล
                ประโยคภาษาอังกฤษจะมีคำกริยาบอกการกระทำให้ทราบว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วในอดีตและยังคงกำลังดำเนินอยู่ต่อไปในปัจจุบัน ซึ่งจะแตกต่างกับคำกริยาในภาษาไทย เพราะคำกริยาในภาษาไทยไม่บอกกาล แต่อาจดูเวลาของการกระทำได้จากคำขยายกริยา จึงส่งผลให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย มักจะมีปัญหาเรื่องเวลา คือ ประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้กาลต่างกัน อาจแปลเป็นภาษาไทยได้เหมือนกัน

Learning log (29th October, 2015 - 30th October, 2015 )

Learning log
(29th October, 2015 - 30th  October, 2015  )
"สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ"
                การเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดีที่ 29 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการเสวนาวิชาการงานวิจัย ในหัวข้อเรื่อง “Beyond Language Learning” โดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว, อาจารย์สุนทร บุญแก้วและ ผศ.ดร.ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล เป็นช่วงเริ่มแรกของการอบรม ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและมีประโยชน์สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก หลายๆท่านที่เข้าอบรมรวมทั้งดิฉันด้วยก็เกิดความสงสัยว่าการเสวนาในครั้งนี้จะออกมาในรูปแบบใด และมีเนื้อที่น่าสนใจและง่ายเข้าใจต่อการเข้าใจมากน้อยเพียงใด มีรูปแบบที่ตรงประเด็นหรือไม่ซึ่งทุกคนที่เข้าร่วมการอบรมก็มีความพร้อมที่จะรับความรู้และแนวคิดต่างๆจากท่านวิทยากรทุกท่านเป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (20th October, 2015)

การฝึกทักษะการฟัง
(20th October, 2015)
จากการฝึกทักษะการเขียนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันเกิดการเรียนรู้ต่างๆมากมาย รวมทั้งพัฒนาทักษะการเขียนไปได้เป็นอย่างมาก แต่การพัฒนาทักษะการเขียนเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในทุกๆทักษะสำหรับตัวดิฉัน เพราะการที่เราสามารถสร้างงานเขียนที่ดีและมีประสิทธิภาพได้นั้น เราจะต้องมีทั้งทักษะ การฟัง การพูด และการอ่านที่ดีและคล่องคล่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนาการเขียนให้ถูกต้องและมีคุณภาพทั้งสิ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนจากการเขียนกิจวัตรประจำวันของน้องชายของดิฉัน ซึ่งน้องชายของดิฉันอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขามีกิจวัตรประจำวันในวันหนึ่งที่เขาเล่าให้ดิฉันฟัง การฝึกเขียนในครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้หลักการใช้ไวยากรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการนำมาใช้ในประโยคอย่างจริงๆ ต่อมาดิฉันฝึกทักษะการเขียนจากการอ่านสรุปความนิทานเรื่อง The Lion and the Mouse (สิงโตกับหนู) จากหนังสือ นิทานฉบับภาษาไทย และดิฉันฝึกทักษะการเขียนจากการอ่านเรื่องสั้นที่เป็นภาษาไทยในหนังสือเรียนของน้องดิฉัน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่คุณครูของเขาให้ฝึกอ่านภาษาไทย ดิฉันจึงนำมาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง เพื่อนที่ดีที่สุดของฉันหลังจากงานเลี้ยง ฉะนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันจะต้องฝึกในเรื่องของทักษะการฟังจากสื่อต่างๆ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการฟังในครั้งที่สอง การฟังนั้นก็มีความสำคัญมากเช่นกัน จำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะการฟังที่ดีขึ้น การฟังในเรื่องใดๆก็แล้วแต่ถ้าหากเราไม่มีทักษะในการฟังที่ดีเราก็ไม่สามารถฟังเรื่องเหล่านั้นได้ถูกต้องได้เช่นกัน บางครั้งการฟังที่ไม่มีประสิทธิภาพก็ก่อให้เกิดการสนทนาที่ไม่ประสบผลสำเร็จ หรือแม้ว่าฟังในเรื่องทั่วๆไปก็จะไม่เกิดผล และที่สำคัญในเรื่องของการศึกษาซึ่งการฟังในเนื้อหาหรือบทเรียนต่างๆเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะถ้าหากเราฟังสิ่งเหล่านั้นไม่เข้าใจเราก็ไม่สามารถทำตามที่อาจารย์หรือผู้อื่นบอกได้ ดังนั้น ดิฉันฝึกทักษะการฟังในวันอังคารที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558

Learning log (Adverb Clause of Time) Ninth : (20th October,2015)

Learning log
Adverb Clause of Time
Ninth : (20th October,2015)
                            การศึกษาหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นมากในทุกๆวันนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาผู้ศึกษาและผู้เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับหลักไวยากรณ์เป็นส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าวได้ว่าทั้งหมดก็เป็นไปได้ และไม่ใช่เพียงแค่ช่วยพัฒนา ทักษะการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน ของเราเพียงอย่างเดียว แต่การรู้และมีความชำนาญในการใช้หลักไวยากรณ์อย่างถูกต้องก็สามารถเพิ่มพูนความรู้ของเรา สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษได้ในทุกๆรูปแบบและใช้ได้จริงในทุกๆสถานการณ์ที่เราประสบพบเจอ อีกสำคัญประการหนึ่งคือ การแปลความหมายของประโยคภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับคนไทยที่ไม่ได้มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่แบบ จึงจำเป็นต้องแม่นยำและเข้าใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะการแปลจะต้องให้ถูกต้องตามหลักการและความหมายที่ถูกต้องตามประโยคภาษาอังกฤษ  จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้การแปลที่ถูกต้องตามหลักการและประโยคต้นแบบที่แปลมาอย่างมีประสิทธิภาพ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Noun Clause ซึ่งหน้าที่ (Function) ของ Noun Clause คือ Noun Clause เมื่อนำมาใช้อย่างคำนาม หรือเหมือนเป็นคำนาม ก็จะมีหน้าที่เช่นเดียวกับคำนามทั่วๆไป คือ เป็นประธาน (Subject) ของกริยา, เป็นกรรม (Object) ของกริยา, เป็นกรรม (Object) ของบุรพบท (Preposition), เป็นส่วนสมบูรณ์ (Complement) ของกริยา และ เป็นคำซ้อนของคำนามตัวอื่นได้ (Appositive) และในที่นี้ดิฉันก็ได้เรียนรู้ในห้องเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Adverb Clause of Time ดิฉันจึงต้องการศึกษาเพิ่มเติมจากที่ได้เรียนมาในห้องเรียน เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การศึกษานอกห้องเรียน (13th October, 2015)

การฝึกทักษะการเขียน
(13th October, 2015)
            การฝึกทักษะการอ่านในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้รับความรู้ต่างๆมากมาย รวมทั้งเป็นการพัฒนาทักษะการอ่านของดิฉันไปอย่างมากเช่นกัน แต่การอ่านในเรื่องใดๆก็แล้วแต่ เราจะต้องใช้เวลาในการอ่าน การแปลความหมาย การฝึกออกเสียงคำศัพท์ให้ถูกต้อง รวมทั้งการทำความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดี จึงจะรู้และเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ ซึ่งดิฉันได้พัฒนาทักษะการอ่านจากการสื่อต่างๆคือ ดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่านจากการอ่านบทความภาษาอังกฤษ เรื่อง Advanced technology ต่อด้วยฝึกทักษะการอ่านจากบทความภาษาอังกฤษ เรื่อง The Greenhouse Effect ครั้งสุดท้ายของสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันฝึกทักษะการอ่านจากการอ่านนิทานภาษาอังกฤษ เรื่อง The Princess and the Pea ซึ่งสื่อทั้งหมดดังกล่าวที่ดิฉันใช้สำหรับฝึกทักษะการอ่านมีความน่าสนใจ และง่ายต่อการเข้าใจในการอ่านทำความเข้าใจและสรุปความหมาย ดิฉันใช้รูปแบบการฝึกคล้ายๆกับครั้งอื่นๆที่ผ่านมา คือ การฝึกในครั้งแรก ดิฉันจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อต่างๆก่อนและเริ่มฝึกการอ่านทำความเข้าใจและสรุปความหมายจากสื่อนั้นๆ จากนั้นในวันต่อไปก็นำเรื่องที่ฝึกมาทบทวนการอ่านทำความเข้าใจและสรุปความหมายอีกครั้ง ซึ่งก็เป็นการฝึกทักษะการอ่านครั้งที่ 2 ที่ดิฉันได้ฝึกมา ฉะนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันจะฝึกทักษะการเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่ยากที่สุดในทุกๆทักษะที่ฝึกมา รวมทั้งมีความสำคัญมากเช่นกัน ซึ่งการเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ ฉะนั้นการเขียนที่ดีจะต้องเกิดจากความคิดที่ดีและมีเหตุผล รวมทั้งมีความชำนาญทางด้านไวยากรณ์ในการแต่งประโยค อีกทั้งการใช้คำที่สละสลวยในงานเขียนของเราด้วย ดิฉันได้ฝึกทักการเขียนในวันอังคารที่ 13 เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 19 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (6th October, 2015)

การฝึกทักษะการอ่าน
(6th October, 2015)
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันใช้สื่อต่างๆในการพัฒนาทักษะการพูด ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากเช่นกัน ดิฉันได้ใช้สื่อต่างๆ ดังนี้ ครั้งแรกดิฉันฝึกทักษะการพูดจากวีดีโอ เรื่อง How to improve your English speaking skills จากนั้น ดิฉันได้ฝึกทักษะการพูดจาก บทสนทนา เรื่อง English Conversation Learn English Speaking English Subtitles และตามด้วยฝึกทักษะการพูดจากการดูบทสนทนา เรื่อง English Conversation 06 ซึ่งสื่อทั้งหมดดังกล่าวที่ดิฉันใช้สำหรับฝึกทักษะการพูด มีความน่าสนใจ และง่ายต่อการเข้าใจและการฝึกพูดตาม ดิฉันใช้รูปแบบการฝึกคล้ายๆกับครั้งอื่นๆที่ผ่านมา คือ การฝึกในครั้งแรก ดิฉันจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อต่างๆก่อนและเริ่มฝึกการพูดจากสื่อนั้นๆ จากนั้นในวันต่อไปก็นำเรื่องที่ฝึกมาทบทวนและฝึกทักษะการพูดอีกครั้ง  ซึ่งก็เป็นการฝึกทักษะการพูดครั้งที่ 2 ที่ดิฉันได้ฝึกมา ฉะนั้นในครั้งนี้ก็จะเป็นการฝึกทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากเช่นกัน สำหรับตัวดิฉันเองมีปัญหาเรื่องการอ่านมาก ดิฉันยังไม่สามารถอ่านบทความหรืองานเขียนต่างๆ ได้อย่างเข้าใจ และตีความหรือสรุปใจความสำคัญของเรื่องต่างๆที่อ่านได้พอสมควร ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการพูดไปแล้ว จึงต้องต่อเนื่องด้วยการฝึกทักษะการอ่าน เพราะทักษะทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กัน และเมื่อดิฉันเริ่มมีทักษะในการพูดมาพอสมควรแล้ว ก็สามารถเป็นพื้นฐานในการอ่านได้มากพอสมควร แต่การฝึกทักษะการอ่านนั้น จะมีความยากมากกว่าการพูด เพราะการอ่านในเรื่องใดๆก็แล้วแต่ เราจะต้องใช้เวลาในการอ่าน การแปลความหมาย การฝึกออกเสียงคำศัพท์ให้ถูกต้อง รวมทั้งการทำความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดี จึงจะรู้และเข้าใจในเรื่องที่อ่าน และสามารถอ่านได้คล่องแคล่ว ไม่ติดขัด ดิฉันจะฝึกทักษะการอ่านตั้งแต่ วันอังคารที่ 6 เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558

Learning log (Noun Clause) Eighth :( 6th October, 2015)

Learning log
Noun Clause
Eighth :( 6th October, 2015)
การเรียนภาษาอังกฤษ สิ่งสำคัญที่ควรรู้และมีความเข้าใจนั่นคือ หลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษซึ่งสิ่งเหล่านั้นสามารถช่วยพัฒนาผู้ศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านทักษะต่างๆ ซึ่งสิ่งเล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับหลักไวยากรณ์เป็นส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าวได้ว่าทั้งหมดก่อนเป็นไปได้ และไม่ใช่เพียงแค่ช่วยพัฒนา ทักษะการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน ของเราเพียงอย่างเดียว แต่การรู้และมีความชำนาญในการใช้หลักไวยากรณ์อย่างถูกก็สามารถเพิ่มพูนความรู้ของเรา สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษได้ในทุกๆรูปแบบและใช้ได้จริงในทุกๆสถานการณ์ที่เราประสบพบเจอ อีกสำคัญประการหนึ่งคือ การแปลความหมายของประโยคภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาไทย ก็จำเป็นต้องแม่นยำและเข้าใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะการแปลจะต้องให้ถูกต้องตามหลักการและความหมายที่ถูกต้องตามประโยคภาษาอังกฤษ  จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้การแปลที่ถูกต้องตามหลักการและประโยคต้นแบบที่แปลมาอย่างมีประสิทธิภาพ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง If-clause ซึ่งเป็นประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) หมายถึง ประโยคที่ผู้พูดสมมติหรือคาดการณ์ขึ้นมาว่า ถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นตามมา ซึ่งประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ (Real Conditions), เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Conditions), เงื่อนไขที่อาจเป็นจริงหรืออาจไม่เป็นจริงก็ได้ (Possible Conditions), เงื่อนไขซึ่งตรงกันข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว (Unreal Conditions) ซึ่งจะเกิดการสับสนในการแปลเป็นอย่างมาก ในทางเดียวกัน เรื่องที่ดิฉันจะศึกษาเพิ่มเติมจากในห้องเรียนนั่นก็คือ เรื่อง Noun Clause ซึ่งมีความยากในการแปลมากเช่นกัน ฉะนั้นดิฉันจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจให้มากขึ้น

การศึกษานอกห้องเรียน (29th September, 2015)

การฝึกทักษะการพูด
(29th  September, 2015)
                การฝึกทักษะการฟังในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้พัฒนาการฟังไปได้ในระดับที่ดีขึ้น ซึ่งดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังจาก จากการฟังเพลง Crush ของศิลปิน David Archuleta, ฝึกทักษะการฟังจากการดูละครเรื่อง Antony and Cleopatra, ฝึกทักษะการฟังจากการฟังเพลง I'm Yours ของศิลปิน Jason Mraz และฝึกทักษะการฟังจากการฟังวีดิโอการสอนเกี่ยวกับเรื่อง Learn English Listening Skills - How to understand native English speakers ซึ่งสื่อที่ดิฉันใช้ฝึกในแต่ละครั้งมีเนื้อหาที่ดีมาก  เริ่มจากการฝึกทักษะจากเพลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าดิฉันได้พัฒนาทักษะการฟังเพิ่มขึ้น หรือมันอาจจะเกิดจากความเคยชินที่ดิฉันฟังและแปลเพลงนั้นหลายๆครั้ง ดิฉันถือว่าดิฉันได้พัฒนาสิ่งเหล่านี้ควบคู่กันไป ต่อด้วยการฝึกจากการดูละคร  ซึ่งการฝึกทักษะในครั้งนี้ดิฉันได้ฝึกทั้งการฟัง การอ่าน อีกทั้งได้ฝึกการแปลภาษาด้วย รวมทั้งได้รับความสนุกสนานความตื่นเต้น ตลอดระยะเวลา สามชั่วโมงที่นั่งดู และการฟัง วีดิโอพัฒนาทักษะความสามารถในการฟัง ซึ่งเป็นทั้งการพัฒนาทักษะการฟังและได้เรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาการฟังซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียน หากมีการฝึกทักษะการฟังแล้วก็จะต่อด้วยการฝึกทักษะการพูด ฉะนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันจะฝึกทักษะการพูด ซึ่งเป็นการฝึกรอบที่ 2 การพูดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก่อนที่เราจะพูดได้คล่องแคล่ว โดยไม่ติดขัด มันจะต้องเกิดจากการมีทักษะการพูดที่ดีรวมทั้ง การมีความรู้ในด้านเนื้อหาและหลักการที่ถูกต้องต่างๆที่เราพูดออกไป ดิฉันจะฝึกทักษะการพูดตั้งแต่ วันอังคารที่ 29 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2558

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (22nd September, 2015)

การฝึกทักษะการฟัง
(22nd September, 2015)
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียน ดิฉันคิดว่าได้พัฒนาทักษะการเขียนของดิฉันไปได้ขึ้นในระดับที่ดีพอสมควร ซึ่งทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ฝึกยากที่สุดเพราะจะต้องใช้เวลาในการฝึกมาก จะต้องใช้วิธีการฝึกอย่างเป็นลำดับขั้นตอนอย่างมากที่สุด ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนดังกล่าวจากการอ่านนิทานอีสปเรื่อง The Fox without a Tail, การเขียนโดยการเขียนบันทึกกิจวัตรประจำวันของดิฉันเอง, จากการเขียน เรียงความเรื่อง Father’s Day  ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านๆมาดิฉันก็ได้ฝึกทักษะครบทั้งสี่ทักษะแล้ว ก็คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ฉะนั้นดิฉันคิดว่าจะฝึกทั้งสี่ทักษะเหล่านี้ วนเวียนกันไปเรื่อยๆในทุกสัปดาห์เพิ่มเพิ่มพูนทักษะทั้งสี่ของดิฉันเอง และจะไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการฝึกแต่ละครั้ง เพราะแต่ละสัปดาห์จะเปลี่ยนแปลงทักษะที่ฝึกอยู่ตลอดหรือบางทักษะที่มีความยาก เช่น การอ่านและการเขียน อาจจะฝึกติดกันสองสัปดาห์ ซึ่งจะได้ไม่ซ้ำซาก จำเจ ดังนั้นในสัปดาห์นี้ก็เป็นสัปดาห์ของการฝึกทักษะการฟัง ทักษะการฟังของดิฉันยังไม่ดีเท่าทีควร ในการเรียนแต่ละครั้ง ไม่ว่ากับครูไทยหรือครูชาวต่างชาติ บางครั้งดิฉันก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ครูพูด หรือบางครั้งเมื่อครูเปิดเทป วีดิโอ ที่เป็นภาษาอังกฤษ ดิฉันก็ยังฟังและสรุปเรื่องที่เขาพูดได้ไม่ค่อยถูกต้องและชัดเจนเท่าที่ควร ดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังตั้งแต่ วันอังคารที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 – วันจันทร์ที่ 28 เดือน กันยายน พ.ศ.2558

Learning log (If-Clause) Seventh : (22nd September, 2015)

Learning log
(If-Clause)
Seventh : (22nd September, 2015)

การศึกษาหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง และประสบความสำเร็จ การที่เราแม่นและเข้าใจในหลักไวยากรณ์ต่างๆในภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจ เป็นการช่วยส่งเสริมทักษะทั้งสี่อย่างของเราให้ดีขึ้นด้วย กล่าวคือ ถ้าหากเรามีความรู้ในด้านหลักไวยากรณ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราฟัง เราอาจจะไม่เข้าใจหรือฟังไม่ชัดแต่เราก็สามารถใช้ความรู้ทางด้านไวยากรณ์ในการเดาหรือแปลความหมายของสิ่งที่เราฟังได้ ส่วนการพูด ส่วนใหญ่คนไทยจะไม่กล้าสนทนากับชาวต่างชาติ หรือกับคนไทยด้วยกันผู้ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านภาษาอังกฤษ เพราะกลัวว่าสิ่งที่พูดออกไปอาจจะไม่ถูกหลักไวยากรณ์ กลัวว่าผู้ที่ร่วมสนทนาจะไม่เข้าใจ จึงเขินอายและกลัวที่จะพูดภาษาอังกฤษ แต่ถ้าหากเรามีความรู้ในหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเยอะ ก็สามารถนำมาปรับใช้ในการสนทนา ทำให้มีความมั่นใจและกล้าที่จะสนทนาโต้ตอบกับชาวต่างชาติ และคนอื่นๆมากขึ้น และการอ่าน การรู้และเข้าใจหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็มีความสำคัญต่อการอ่านด้วยเช่นกัน แต่จะไปในทางการออกเสียง หรือ ที่เรียกว่า Phonetic มากกว่า และที่สำคัญการเขียน เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราควรจะมีความรู้ในด้านหลักไวยากรณ์ให้มากๆ เพราะการเขียนในทุกๆครั้งจะต้องถูกหลักไวยากรณ์ ถ้าหากงานเขียนของเราผิดหลักไวยากรณ์จะเป็นสิ่งที่ใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับทุกๆทักษะทั้งหมด ซึ่งจะทำให้งานเขียนของเราไม่ดี และไม่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากทักษะทั้งสี่อย่างเหล่านี้แล้ว สิ่งสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษให้เข้าใจ นั่นคือการแปลความหมายของประโยคหรืองานเขียนต่างๆได้ ดังนั้นก่อนที่จะได้งานแปลที่มีประสิทธิภาพ เราจะต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องของประโยค (Sentence) หรือ กาลของประโยค (Tense) และคำศัพท์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการแปลความหมายในประโยคหรืองานเขียนภาษาอังกฤษ ในสัปดาห์ที่ผ่านๆมา ดิฉันได้ศึกษา เกี่ยวกับรูปแบบต่างๆของประโยค รวมทั้ง tense ต่างๆ ทั้ง 12 tense ฉะนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง  ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) หรือที่เรียกว่า If-Clause ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีปัญหาในการเขียนและแปลเป็นอย่างมาก

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (15th September, 2015)

การฝึกทักษะการเขียน
 (15th September, 2015)
การฝึกทักษะในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่านจากการอ่านบทความภาษาอังกฤษมาเป็นเวลาสองสัปดาห์ ซึ่งดิฉันรู้สึกว่า ทักษะการอ่านของข้าพเจ้าได้พัฒนาไปมากพอสมควร แต่การฝึกทักษะการอ่านเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะนี้เป็นอย่างมากเช่นกัน ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่าน จากบทความ ดังนี้ บทความ เรื่อง  Drinking water before meals helps dietin, เรื่อง 10 Things You Can Do to Help Save the Earth และ เรื่อง Workout Routines for Women ซึ่งทั้ง 3 บทความมีเนื้อหาที่น่าสนใจและน่าอ่านมาก อีกทั้งคำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่อ่านง่ายและเข้าใจง่าย ซึ่งในตอนแรกดิฉันก็อ่านบทความนี้ไปประมาณเรื่องละ 3-4 ครั้ง คืออ่านโดยไม่ได้ค้นหาว่าคำศัพท์คำนั้นที่จริงแล้วต้องอ่านออกเสียงอย่างไรถึงจะถูกต้อง และคำศัพท์ยากแต่ละคำที่ดิฉันยังไม่รู้ว่ามีความหมายว่าอย่างไรบ้าง เพราะดิฉันจะลองฝึกทักษะการอ่านของดิฉันว่าเป็นอย่างไรบ้าง และทดสอบความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆในสมองว่ามีเท่าไหร่ ซึ่งดิฉันคิดว่าจากการฝึกทักษะในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้พัฒนาทักษะการอ่านไปได้แล้วในระดับหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ดิฉันจึงต้องการจะฝึกทักษะการเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่ยากที่สุดสำหรับตัวดิฉันเอง ซึ่งการเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ ฉะนั้นการเขียนที่ดีจะต้องเกิดจากความคิดที่ดีและมีเหตุผล รวมทั้งมีความชำนาญทางด้านไวยากรณ์ในการแต่งประโยค อีกทั้งการใช้คำที่สละสลวยในงานเขียนของเราด้วย ซึ่งดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนตั้งแต่วันอังคารที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 – วันอาทิตย์ที่ 20 เดือน กันยายน พ.ศ.2558

Learning log Sixth: (15th September, 2015)

Learning log
Sixth: (15th September, 2015)
การศึกษาเป็นการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญ คือ เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพของตน ซึ่งการศึกษาไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย มีเทคโนโลยีสอดแทรกเข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมทางด้านการศึกษาอย่างครบครัน จนบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีต่างๆเป็นตัวแทนของครูผู้สอนในการเรียนการสอนก็เป็นได้ แต่การที่มีเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าหากบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม เทคโนโลยีต่างๆก็จะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ถ้าบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด หรือไปในทางที่ไม่เหมาะสม เทคโนโลยีเหล่านั้นก็จะเกิดโทษมากมายเช่นกัน ต่อไปประเทศไทยก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งทุกคนทุกฝ่ายจะต้องมีความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษทั้งทฤษฎีและทางปฏิบัติ คือ มีความชำนาญในด้านทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นอย่างดีเพื่อการทำงานและการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ฉะนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะต้องช่วยกันพัฒนาการศึกษาไทยให้พัฒนาเท่าทันกับนานาประเทศ

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (8th September 2015)

                                                          การฝึกทักษะการอ่าน
                                            (8th  September, 2015)
การฝึกทักษะการอ่านในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันก็ประสบความสำเร็จมากพอสมควร แต่ทั้งนี้เพราะ การฝึกทักษะการอ่านนั้นจะใช้เวลาเป็นอย่างมากในการฝึก ในการแปลความหมายและค้นหาคำศัพท์ยากที่เราไม่รู้มาก่อน รวมทั้งจะต้องใช้เวลาในการฝึกฝนในการอ่านให้คล่องแคล่ว ราบรื่น ไม่ติดขัด ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่านจากบทความต่างๆ ดังนี้ 1. บทความภาษาอังกฤษเรื่อง What is global warming?, 2. บทความภาษาอังกฤษเรื่อง Benefits Of Passion Fruit และบทความที่ 3 คือ บทความภาษาอังกฤษ เรื่อง Chocolate for Health and Beauty ซึ่งในช่วงแรกของการฝึก ดิฉันก็อ่านบทความเหล่านี้ไป 3-4 ครั้ง คืออ่านโดยไม่ได้ค้นหาว่าคำศัพท์คำนั้นที่จริงแล้วต้องอ่านออกเสียงอย่างไรถึงจะถูกต้อง และคำศัพท์ยากแต่ละคำที่ดิฉันยังไม่รู้ว่ามีความหมายว่าอย่างไรบ้าง เพราะว่าดิฉันจะลองฝึกทักษะการอ่านของดิฉันว่าเป็นอย่างไรบ้าง และทดสอบความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆในสมองว่ามีเท่าไหร่ รวมทั้งการอ่านในลักษณะนี้จะเป็นการฝึกการพูดไปในตัวด้วย จากนั้นในวันที่สองของการฝึกอ่านบทความแต่ละบท ดิฉันได้นำบทความดังกล่าวนี้มาอ่านทบทวนใหม่อีกครั้งเพื่อเป็นการทดสอบความจำทางด้านเนื้อหา การอ่านออกเสียงคำศัพท์และความหมายของคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์ยากที่ดิฉันยังไม่รู้ รวมทั้งเป็นการเพิ่มพูนทักษะในการอ่านของดิฉันด้วย เพราะฉะนั้น การฝึกฝนทักษะการอ่านให้เกิดความชำนาญและเกิดความคล่องแคล่วนั้นจะต้องใช้เวลาในการฝึกเป็นอย่างมาก ในสัปดาห์นี้ดิฉันจึงฝึกทักษะการอ่านอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เกิดความชำนาญและความคล่องแคล่วในการอ่าน รวมทั้งถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ในการฝึกฝนด้วย ซึ่งดิฉันได้ฝึกตั้งแต่วันอังคารที่ 8  กันยายน 2558 – วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2558 และใช้บทความ 1 เรื่องในการฝึก 1 วันและอีกหนึ่งวันใช้สำหรับการอ่านทบทวนบทความเรื่องเดิมอีกครั้ง

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (1st September,2015)

                                               การฝึกทักษะการอ่าน
                                              (1st  September, 2015)

การฝึกทักษะต่างๆ ทั้งทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากในการที่จะเรียนภาษาอังกฤษให้เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันได้ฝึกทักษะการพูดมาแล้ว ซึ่งจากการฝึกทักษะการพูดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันก็ได้ความรู้ทั้งในด้านของเนื้อหาของสื่อที่ดิฉันได้ฝึก และพัฒนาทางด้านทักษะการพูดได้เป็นอย่างมาก ทำให้ดิฉันมีความกล้าในการที่จะพูด ซึ่งดิฉันได้ฝึกการพูดจากเนื้อหาและวีดิโอต่างๆ คือ 5 เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษให้เหมือนกับเจ้าของภาษา,Spoken English Learning Video Spoken English Tutorial English Conversation ,การฝึกพูดภาษาอังกฤษ, English Conversation- Learn English Speaking, English Conversation - Learn English Speaking, Learn English Vocabulary 5, จากเพลง I Have A Dreamและการพูดอังกฤษในการทำงาน ดิฉันคิดว่าดิฉันได้รับความรู้และทักษะจากการฝึกในสัปดาห์ที่ผ่านมามากพอสมควร สัปดาห์นี้ดิฉันจึงต้องการฝีกทักษะการอ่าน เพราะการอ่านและการพูดจะมีความความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันมาก ในเมื่อดิฉันเริ่มมีทักษะในการพูดมาพอสมควรแล้ว ก็สามารถเป็นพื้นฐานในการอ่านได้มากพอสมควร แต่การฝึกทักษะการอ่านนั้น จะมีความยากมากกว่าการพูด เพราะการอ่านในเรื่องใดๆก็แล้วแต่ เราจะต้องใช้เวลาในการอ่าน การแปลความหมาย การฝึกออกเสียงคำศัพท์ให้ถูกต้อง รวมทั้งการทำความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดี จึงจะรู้และเข้าใจในเรื่องที่อ่าน และสามารถอ่านได้คล่องแคล่ว ไม่ติดขัด ฉะนั้นดิฉันจึงตัดสินใจฝึกทักษะการอ่าน ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 กันยายน 2558 – วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2558 และใช้บทความ 1 เรื่องในการฝึก 1 วันและอีกหนึ่งวันใช้สำหรับการอ่านทบทวนบทความเรื่องเดิมอีกครั้ง

Learning log 2 Fourth : (1st September, 2015)

                                                       Learning log 
                                                               Part of Sentences
                                                    Fourth : (1st September,2015)

การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของกาล (Tense) ในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนภาษาอังกฤษ เพราะผู้เรียนสามารถสร้างประโยคได้ถูกต้องตามหลักการและเวลาของเนื้อหาที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้น ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Tense มามากพอสมควรแล้ว ซึ่ง Tense เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นตัวบอกเวลาในประโยคนั้นๆ นอกจาก Tense เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างประโยคแล้ว สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น คือเราจะต้องรู้และเข้าใจในเรื่อง ประเภทของประโยคด้วย จึงจะสามารถสร้างประโยคได้ถูกต้องตามหลักการและมีความสละสลวย ซึ่งประโยค (Sentence) สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ Simple Sentence (เอกัตถประโยค), Compound Sentences (อเนกัตถประโยค) Complex Sentences (สังกรประโยค) และ Compound Complex Sentences (อเนกัตถสังกรประโยค) โดยที่ Simple Sentence (เอกัตถประโยค) เป็นการสร้างประโยคในรูปแบบธรรมดาโดยทั่วไป เป็นประโยคความเดียวที่ดิฉัน มีความเข้าใจและสามารถสร้างประโยคได้ แต่ในงานเขียนแต่ละครั้งเราจะต้องสร้างประโยคที่มีหลากหลายรูปแบบ งานเขียนของเราถึงจะสมบูรณ์และมีความน่าสนใจในด้านเนื้อหา ในที่นี้ดิฉันต้องการศึกษาการสร้างประโยคแบบ Compound Sentence (อเนกัตถประโยค) Complex Sentence (สังกรประโยค) และ Compound Complex Sentence (อเนกัตถสังกรประโยค) เป็นการสร้างประโยคที่ซับซ้อนขึ้น เป็นทั้งประโยคความรวมและประโยคความซ้อน เป็นการสร้างประโยคในระดับที่ยากขึ้นกว่า Simple Sentence ซึ่งดิฉันยังไม่แม่นยำและเข้าใจในการสร้างประโยคในแบบเหล่านี้เท่าที่ควร รวมทั้งการแต่งประโยคโดยการใช้ Adjective Clause ฉะนั้น ดิฉันจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม และทำความเข้าใจ รวมทั้งทำแบบฝึกหัดในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ทั้งในการสร้างประโยคแบบ Compound Sentence (อเนกัตถประโยค) Complex Sentence (สังกรประโยค) และ Compound Complex Sentence (อเนกัตถสังกรประโยค)

Compound Sentence (อเนกัตถประโยค) หมายถึง ประโยคที่มี Simple Sentence 2 ประโยคมารวมเข้าด้วยกัน โดยมีการเชื่อมด้วย Co-ordinator  ได้แก่
1.             เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation)
2.             วิเศษณ์เชื่อม (Conjunctive Adverb)
3.             สันธานประสาน (Co-ordinate Conjunction)

Learning log Fourth : (1st September, 2015)

                                                Learning log
                                    Fourth : (1st September 2015)

สังคมไทยปัจจุบัน เป็นสังคมที่เห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ หรืออาจจะเรียกว่า สังคมแห่งวัตถุนิยม ซึ่งยิ่งมีการพัฒนาไปเท่าใด จะยิ่งเกิดปัญหาจากการพัฒนาเท่านั้น ยิ่งมีวัตถุสนองความต้องการมากเท่าใดยิ่งไม่รู้จักพอ คนไทยในยุคโลกาภิวัตน์ จึงมีปัญหาทางจิตเกิดขึ้นมากมาย เช่น มีพฤติกรรมการแสดงออกที่รุนแรง ขาดเมตตา ไม่มีคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นเครื่องเตือนจิตใจให้ปฏิบัติตนในทางที่ดี ทำให้คนไทยยุคใหม่ตกเป็นทาสของประเทศทุนนิยมที่ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคมาเป็นเหยื่อล่อ ทำให้มนุษย์เกิดกิเลสอยากมีอยากได้ สนับสนุนให้เกิดค่านิยมบริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ โดยปราศจากการควบคุมและไตร่ตรอง เมื่อเกิดความอยากมี อยากได้ แต่ไม่มีเงินซื้อก็จะกระทำทุจริต ลักเล็กขโมยน้อย ฉกชิงวิ่งราวดังที่เป็นข่าวอยู่เสมอ สังคมปัจจุบันจึงไร้ความมีน้ำใจ  จะมีสื่อลามกต่าง ๆ มากมาย มีสิ่งมอมเมาในรูปแบบการพนันต่าง ๆ อีกมาก เสพสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ เมื่อสังคมไทยตกอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่นนี้ จึงไม่มีการพัฒนา อีกทั้งคนส่วนใหญ่คิดว่า การมีความพร้อมทางวัตถุจะทำให้ชีวิตมีความสงบสุข จึงทำให้เกิดการโกงกินทุจริตคิดมิชอบต่อหน้าที่การงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทองและสิ่งของมีค่าต่างๆ บางคนมีสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ให้มีมากกว่าเดิม ถึงกับกู้หนี้ยืมสินมาซื้อหา พฤติกรรมต่างๆเช่นนี้เกิดขึ้นในสังคมทุกส่วน ทั้งในระดับครอบครัว ส่วนภูมิภาคและมากขึ้นถึงระดับประเทศ และจะส่งผลโดยตรงต่อการศึกษามากที่สุดเพราะถือว่าการศึกษาไม่ได้ช่วยให้คนพัฒนาขึ้น

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (วันที่ 25สิงหาคม พ.ศ.2558)



การฝึกทักษะการพูด

การฝึกฝนในด้านทักษะการฟังของดิฉันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันได้รับประโยชน์และแง่คิดดีๆต่างๆมากมายที่สามารถนำมาปรับปรุงในด้านการฟังของดิฉันต่อไปเรื่อยๆ ดิฉันยอมรับว่าการฝึกทักษะด้านการฟังในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันก็ได้พัฒนาแค่ส่วนหนึ่งแต่ยังไม่ทั้งหมด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องได้รับการต่อยอดและการทำอย่างสม่ำเสมอจึงจะเกิดความชำนาญและประสบความสำเร็จ ซึ่งในสัปดาห์นี้ดิฉันก็จะฝึกฝนเกี่ยวกับทักษะการพูด ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะการพูดถือเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีการใช้และสะดวกในการใช้มากที่สุด การพูดอย่างคล่องแคล่วและถูกต้องได้แสดงว่าเรามีความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้นและมีทักษะในการพูดที่ดี สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้เป็นอย่างมาก และที่สำคัญการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทางการพูดถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าหากเราพูดผิดเพี้ยน ทางด้านคำศัพท์หรืออื่นๆ หรือแม้แต่การพูดแบบตะกุกตะกัก ไม่ชัดเจนในการออกเสียง ก็จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้ที่ร่วมสนทนากับเราเกิดความเบื่อหน่าย และไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด การพูดหรือการสนทนาของเราก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ ดิฉันเริ่มฝึก ตั้งแต่วันที่ 25-31 สิงหาคม พ.ศ.2558

การศึกษานอกห้องเรียน (วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2558)

                                                 การฝึกทักษะการฟัง

การศึกษาในปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด ชาติใด ศาสนาใด ก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาก่อน บุคคลเหล่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่ในการศึกษาดังกล่าวกว่าที่ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จนั้นต้องผ่านการฝึกฝน ผ่านการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง รวมทั้งการทดสอบต่างๆและการนำไปประยุกต์ใช้ด้วย ในการเรียนทุกประเภทและทุกระดับจะต้องมีการฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในด้านทักษะต่างๆ อย่างชัดเจน ทั้งทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ซึ่งการเรียนการสอนในทุกๆรายวิชาจะต้องมีการสอนให้นักเรียนเข้าใจและมีความชำนาญในด้านทักษะต่างๆเหล่านี้ โดยเฉพาะการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ การฝึกทักษะต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่แบบของคนไทย จึงเกิดความยากในการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ ฉะนั้นผู้เรียนจึงต้องมีการฝึกทักษะเหล่านี้เพื่อให้สามารถเรียนภาษาอังได้อย่างเข้าใจ ซึ่งสำหรับดิฉันแล้ว ดิฉันยังไม่มีความชำนาญในทักษะทั้งสี่ด้านเหล่านี้มากพอสมควร ดิฉันจึงต้องการฝึกฝนอย่างจิงจัง โดยสัปดาห์นี้ดิฉันจะฝึกเกี่ยวกับทักษะการฟังเป็นลำดับแรก เนื่องจากดิฉันฟังภาษาอังกฤษไม่ค่อยเข้าใจ ตั้งแต่วันที่ 18-24 สิงหาคม พ.ศ.2558

Learning log Third : (18th August, 2015)

Learning log
Third : (18th August, 2015)
            การศึกษาภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในปัจจุบัน เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของสากลที่ทุกคนส่วนใหญ่ใช้ร่วมกัน สื่อสารกันเข้าใจที่สุด การศึกษาภาษาอังกฤษให้เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ทั้งทางด้าน เนื้อหา คือในส่วนของคำศัพท์ต่างๆ และ หลักไวยากรณ์ ต่างๆ รวมทั้งจะต้องฝึกฝนเกี่ยวกับ ทักษะ ซึ่งมีความสำคัญมากเช่นกัน คือ ทักษะการฟัง, ทักษะการพูด, ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ทักษะเหล่านี้ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและมีความต่อเนื่อง เพราะเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนด้วยตนเองจึงจะเกิดผลดีมากที่สุด ซึ่งสำหรับคนไทยแล้วจะคิดว่า การศึกษาในด้านของไวยากรณ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษก็เป็นได้ เพราะถ้าหากผู้เรียนรู้หลักไวยากรณ์อย่างครอบคลุมและแม่นยำแล้ว ผู้เรียนก็สามารถเขียนรูปประโยค หรือข้อความต่างๆ รวมทั้งแปลความหมายของข้อความเหล่านั้นเป็นภาษาต่างๆที่เราต้องการได้อย่างถูกต้องและสละสลวย ยิ่งไปกว่านั้นการรู้คำศัพท์และหลักไวยากรณ์มาก จะทำให้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของผู้เรียนดีและคล่องแคล่วขึ้น จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นด้วย

                ในการเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าหากผู้เรียนต้องการสร้างงานเขียนที่ดีและสละสลวย ผู้เรียนจะต้องเชี่ยวชาญ และแม่นยำในเรื่องของ Tense ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้างงานเขียนที่ดี รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการแปลความหมายของประโยคและข้อความต่างๆ ด้วย ดังนั้นการที่จะเรียนรู้เรื้อง Tense ก็จะต้องรู้ความหมายของ Tense ก่อน

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา

การสอนภาษาอังกฤษมีความสำคัญและเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากสำหรับการศึกษาในระดับต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากการสอนภาษาอังกฤษโดยตรง คือ การสอนภาษาอังกฤษในวิชาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาอังกฤษยังสามารถใช้สอนในรายวิชาอื่นๆได้อีกด้วย ซึ่งถ้านำไปปรับใช้กับวิชาอื่น ๆได้มากขึ้นเท่าใด ผู้เรียนภาษาอังกฤษก็จะเก่งและเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟู ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะมากยิ่งขึ้น คือ มี โรงเรียนสองภาษาและ โรงเรียนสามภาษาซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีภาษาอังกฤษเป็นตัวร่วมอยู่ด้วย รวมทั้งมี โปรแกรมอินเตอร์ที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนในการเรียนการสอน นอกจากนี้แล้ว การศึกษานอกระบบที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆ เช่น การเรียนผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วๆไปได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
การเรียนภาษาจะมีความแตกต่างกับการเรียนวิชาอื่นๆ ทั่วไป คือ การเรียนภาษาจะมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ ซึ่งความรู้ คือ ภาคทฤษฎี ส่วนทักษะ คือ ภาคปฏิบัติ
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษยังคงมีปัญหาด้านคุณภาพมาตรฐานในเรื่องการเรียนการสอน เพราะผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน และแปลในระดับที่ดีได้ ทั้งที่ในความเป็นจริง นักเรียนสมัยนี้น่าจะเก่งเพราะมีโอกาสได้พบเห็นและและใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าสมัยก่อน

Leaning log (11th August ,2015)

Leaning log
(11th August ,2015)
            การศึกษามีความสำคัญกับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และทุกชนชาติทุกศาสนาเพราะทุกคนที่เกิดมาจะต้องได้รับการศึกษา ซึ่งเป็นเครื่องนำทางชีวิตให้เดินไปสู่สิ่งที่ดี และประสบความสำเร็จได้ นั่นคือการศึกษาเป็นการพัฒนาและปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดีให้กับผู้เรียน อุดมการณ์ของการศึกษาคือ ยิ่งศึกษายิ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้จักตัวเอง รู้จักตน ควบคุมตน แล้วพัฒนาตนให้ดีขึ้นได้ สังคมโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงและก้าวไกลไปอย่างมาก ผู้ที่มีการศึกษาย่อมได้เปรียบในการทำงานและกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงในการดำเนินชีวิตด้วย และการศึกษาที่สำคัญที่กำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในขณะนี้ และในอนาคตสำหรับการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนคือ การศึกษาภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางที่คนในทุกๆชาติใช้สื่อสารกัน แต่ทุกคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่แบบจะมองว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่เข้าใจยากมากทำให้ทุกคนเกิดความเบื่อหน่ายเพราะเรียนแล้วไม่เกิดความเข้าใจ จึงทำให้ไม่สนใจที่จะเรียนภาษาอังกฤษและรู้สึกอคติไปโดยสิ้นเชิง
                การศึกษาโดยทั่วไปจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะของการเรียนรู้ ได้แก่
      1.             การศึกษาในห้องเรียน
      2.             การศึกษานอกห้องเรียน

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้างตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “structure” ซึ่งพจนานุกรม The American Heritage Dictionary of the English Language (1980:1278) ให้ความหมายไว้ 5 ประการ คือ 1) a complex entity. 2) a. The configuration of element, parts, or constituents in such and an entity; organization; arrangement. b. constitution; make-up. 3) The interrelation of parts or the principle of organization in a complex entity.    4) Relatively intricate or extensive organization: an elaborate electric structure. 5) Something constructed, especially, a building or part.
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกให้เราทราบว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย ส่วนในด้านปัญหาของการแปลนั้นมีมากมาย แต่ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัญหาทางโครงสร้าง เพราะถึงแม้ว่าผู้แปลจะรู้คำศัพท์เป็นพันเป็นหมื่นคำ แต่ถ้าหากไม่เข้าใจโครงสร้างการแปลก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อนักแปล
1.              ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราจะต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึง ลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น บุรุษ (person) พจน์ (number) ลิงค์ (gender) การก (case) กาล (tense) เป็นต้น
ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1      การเปรียบเทียบ พบว่า ประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่ทีตัวบ่งชี้ (marker)ในภาษาอังกฤษแต่กลับเป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ (person), พจน์ (number), การก (case), ความชี้เฉพาะ (definiteness) และ การนับได้ (countability)

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากเกี่ยวกับการสื่อสารในปัจจุบัน จากการที่การคมนาคมสื่อสารเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก คนต่างชาติต่างภาษามีการติดต่อกันมากขึ้น การแปลจึงมีความสำคัญ เพราะประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในด้านต่างๆมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากที่ผู้ติดต่อจะต้องมีความคล่องแคล่วในด้านการแปลภาษา จึงกล่าวได้ว่าการแปลภาษาสามารถยึดเป็นอาชีพได้และเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศได้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี นอกจากนั้น การแปลจะช่วยลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากการมีวัฒนธรรมแตกต่างกันและสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก                                                                                               
การใช้ภาษาอังกฤษในหน่วยงานต่างๆมีปริมาณการใช้มากที่สุด เพราะ หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ และมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีตำราเอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา
ประเทศต่างๆล้วนมีภาษาที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความจำเป็นในการที่ต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งเพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศที่ใช้ภาษาต่างกันสามารถทำความเข้าใจกันได้
การแปลในประเทศไทย
                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี การท่องเที่ยวซึ่งนำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก และในด้านวิชาการต่างๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษา นักธุรกิจ และนักการเมืองในการศึกษาหาความรู้หรือเดินทางไปต่างประเทศ จึงส่งผลให้ความต้องการด้านการแปลเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ