วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้างตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “structure” ซึ่งพจนานุกรม The American Heritage Dictionary of the English Language (1980:1278) ให้ความหมายไว้ 5 ประการ คือ 1) a complex entity. 2) a. The configuration of element, parts, or constituents in such and an entity; organization; arrangement. b. constitution; make-up. 3) The interrelation of parts or the principle of organization in a complex entity.    4) Relatively intricate or extensive organization: an elaborate electric structure. 5) Something constructed, especially, a building or part.
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกให้เราทราบว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย ส่วนในด้านปัญหาของการแปลนั้นมีมากมาย แต่ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัญหาทางโครงสร้าง เพราะถึงแม้ว่าผู้แปลจะรู้คำศัพท์เป็นพันเป็นหมื่นคำ แต่ถ้าหากไม่เข้าใจโครงสร้างการแปลก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อนักแปล
1.              ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราจะต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึง ลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น บุรุษ (person) พจน์ (number) ลิงค์ (gender) การก (case) กาล (tense) เป็นต้น
ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1      การเปรียบเทียบ พบว่า ประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่ทีตัวบ่งชี้ (marker)ในภาษาอังกฤษแต่กลับเป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ (person), พจน์ (number), การก (case), ความชี้เฉพาะ (definiteness) และ การนับได้ (countability)
                                                        
1.1.1 บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง (บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่ 3) ภาษาอังกฤษมีการแยกใช้อย่างชัด ซึ่งจะต่างกับภาษาไทยที่ไม่มีการแยกใช้อย่างชัดเจนเพราะบางคำก็ใช้ได้หลายบุรุษ
1.1.2 พจน์ (number) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ เพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1.3 การก (case) เป็นประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร ในภาษาอังกฤษ การกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ เช่น ถ้าพูดว่า The dog bit the boy. จะต่างกับพูดว่า The boy bit the dog. ในประโยคแรก dog เป็นประธานหรือผู้กระทำ (กัด) แต่ประโยคหลัง dog เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ (กัด) ซึ่งในภาษาไทยใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ ส่วนการกเจ้าของในภาษาไทยมีการเรียงคำต่างจากภาษาอังกฤษ เช่น ถ้าพูดว่า หนังสือครู ต่างกับภาษาอังกฤษที่พูดว่า ครูหนังสือ
1.1.4 นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) ในภาษาอังกฤษจะแยกคำนามนับได้ และนับไม่ได้ โดยกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s ที่นามนับได้พหุพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ไม่ต้องใช้ a/an และไม่ต้องเติม –s ซึ่งจะต่างกับภาษาไทย เพราะในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ โดยมีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้และสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคำนามต่างๆ
1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) ประเภททางไวยากรณ์ที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ เครื่องหมายที่จะบ่งชี้ความชี้เฉพาะคือตัวกำหนด ได้แก่ a/an ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ (indefiniteness) และ the ซึ่งบ่งความชี้เฉพาะ (definiteness) เช่น Did you return the book to the library? (ผู้พูดหมายถึงหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งโดยเฉพาะ) คืนหนังสือ (เล่มนั้น) ให้ห้องสมุดหรือยัง (คนไทยส่วนใหญ่พูดโดยไม่มีคำว่า เล่มนั้น)
            
              1.2 คำกริยา ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของประโยค ซึ่งมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้                 
                       1.2.1 กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต
                       1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect) หมายถึง ลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่ (continuous aspect หรือ progressive aspect) ซึ่งแสดงโดย verb to be + present participle (-ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น (perfective aspect) ซึ่งแสดงโดย verb to have + past participle ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนอนอยู่แสดงด้วยคำว่า กำลังหรือ อยู่หรือ ใช้ทั้งสอง และที่สำคัญอีกประการในภาษาอังกฤษ คือ ถ้าประโยคมีกริยาหลายตัว กาลของกริยาเหล่านั้นต้องสัมพันธ์กันในเรื่องเวลา เช่นมีความสอดคล้องกันในเรื่องเวลาในแง่ที่เป็นอดีตเหมือนกัน เป็นปัจจุบันเหมือนกัน และจำเป็นต้องมีการเรียงลำดับการเกิดก่อนหลังด้วย เช่น He has been unhappy for the last three days and he still looks miserable.
                       1.2.3 มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พุดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์และเรื่องที่พูดอย่างไร มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries เช่น may, might, can, could, should เป็นต้น แต่ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา เช่น อาจ คงจะ
                         1.2.4 วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ (กรรตุวาจก ) หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (กรรมวาจก) ในภาษาอังกฤษ ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก เช่น A speeding truck hit a bus full of nursery children yesterday... แต่ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก ในการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเท่ากับประโยคกรรมในภาษาไทยเสมอไปเพราะประโยคภาษาอังกฤษสามารถเทียบเท่ากับประโยคกรรมหลายประเภทในภาษาไทย เช่น The building was designed by a famous architect. อาคารหลังนี้ออกแบบโดยสถาปนิกมีชื่อ (ประโยคกรรมกริยาไม่เปลี่ยนรูป)
                         1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ คือ ในประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ส่วนกริยาอื่นๆในประโยคต้องแสดงรูปให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยากริยาแท้ ส่วนในภาษาไทย ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ คือ กริยาทุกตัวในประโยคในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน หรือเครื่องหมายที่จะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่แท้
                1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น คำที่เป็นปัญหาในตัวคำศัพท์ได้แก่ คำบุพบท ในการแปลทุกครั้งต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา เช่น He smiled at me. เขายิ้มให้ฉัน นอกจากนี้คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้ ซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทยที่ไม่มีโครงสร้างเช่นนั้น เช่น I don’t have a chair to sit on. (**ภาษาไทย คือ ฉันไม่มีเก้าอี้จะนั่ง)                          
                         คำ Adjective ถือเป็นปัญหาในการแปลเช่นกัน เพราะต้องใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค เช่น He is clever. แต่ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด เช่น เขาฉลาด นอกจากนั้น Adjective ที่เรียงกันหลายคำเพื่อขยายคำนามที่เป็นคำหลัก เมื่อแปลเป็นไทย อาจเกิดปัญหา เพราะในภาษาไทยคำขยายอยู่หลังคำหลัก ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ทำให้เรียงคำขยายแบบภาษาอังกฤษไม่ได้ เช่น The intelligent young college student. ซึ่งไม่สามารถแปลตรงๆได้ ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยเยาว์วัยเฉลียวฉลาดจะต้องเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคุณานุประโยค (relative clause) จึงจะแปลได้เข้าใจ ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เยาว์วัยและเฉลียวฉลาด
                          คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกันระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ ได้แก่ คำที่ลงท้าย เช่น คะ ครับ นะ สิ เถอะ ฯลฯ คำเหล่านี้มีความหมายละเอียดอ่อนซึ่งไม่มีในภาษาอังกฤษ เมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษจะต้องใช้คำประเภทอื่นหรือรูปแบบอื่นแทน
2.   หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน ดังนี้
2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)                                              นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ (ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม) ซึ่งในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด มีแต่คำบ่งชี้ เช่น นี้ นั้น โน้น นู้น ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกลและเฉพาะเจาะจง 
2.2 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions) ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัดและมีแบบเดียว คือ ประธาน/ผู้รับ การกระทำ+กริยา—verb to be +past participle + (by + นามวลี/ผู้กระทำ) แต่ภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก เช่น สนใจ พอใจ ตื่นเต้น ฯลฯ เช่น ฉันสนใจผลงานของเขา (กรรตุวาจก) I am interested in his work. (กรรมวาจก)
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย) เช่น  I (Subject) have never felt sorry in any way for not liking law or failing to learn it... การที่ไม่ชอบกฎหมายและไม่ได้เรียนกฎหมายนั้น(topic) ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกเสียใจเลยแม้แต่น้อย
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลาง ยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า เช่น เดิน-ไป-ดูหนัง เมื่อแปลประโยคเช่นนี้ในภาษาอังกฤษจะสังเกตได้ว่า โครงสร้างจะเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่กริยาเรียง เช่น เพื่อจับจ่ายซื้อของกินมากักตุน to shop for food to be hoarded
           3. สรุป การแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างกัน ดังนี้
                      3.1 เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี) ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด, นาม, กริยา, คุณศัพท์, วิเศษณ์, บุพบทและสันธาน แต่ไม่มีลักษณะนามและคำลงท้าย ส่วนในภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์                                           
                      3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์ สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน ส่วนคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ชัดเจน
                      3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับแต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้, การวางส่วนขยายในนามวลี จะมีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ, หน่วยสร้างกรรมวาจก ในภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ และไม่จำเป็นต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเสมอไป, ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง คือ ในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ในประโยคภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธานและประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง และ หน่วยสร้างกริยาเรียง จะมีในภาษาไทยแต่ในภาษาอังกฤษไม่มี


                         

1 ความคิดเห็น:

  1. Best Betting Sites In The USA Today - JTM Hub
    With more than 1,500 sports 여주 출장마사지 betting sites online, NJ-based sports betting could 안성 출장샵 soon become 남양주 출장샵 one of the 서귀포 출장안마 fastest growing destinations for U.S. sports bettors. 과천 출장마사지

    ตอบลบ