วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log (If-Clause) Seventh : (22nd September, 2015)

Learning log
(If-Clause)
Seventh : (22nd September, 2015)

การศึกษาหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง และประสบความสำเร็จ การที่เราแม่นและเข้าใจในหลักไวยากรณ์ต่างๆในภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจ เป็นการช่วยส่งเสริมทักษะทั้งสี่อย่างของเราให้ดีขึ้นด้วย กล่าวคือ ถ้าหากเรามีความรู้ในด้านหลักไวยากรณ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราฟัง เราอาจจะไม่เข้าใจหรือฟังไม่ชัดแต่เราก็สามารถใช้ความรู้ทางด้านไวยากรณ์ในการเดาหรือแปลความหมายของสิ่งที่เราฟังได้ ส่วนการพูด ส่วนใหญ่คนไทยจะไม่กล้าสนทนากับชาวต่างชาติ หรือกับคนไทยด้วยกันผู้ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านภาษาอังกฤษ เพราะกลัวว่าสิ่งที่พูดออกไปอาจจะไม่ถูกหลักไวยากรณ์ กลัวว่าผู้ที่ร่วมสนทนาจะไม่เข้าใจ จึงเขินอายและกลัวที่จะพูดภาษาอังกฤษ แต่ถ้าหากเรามีความรู้ในหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเยอะ ก็สามารถนำมาปรับใช้ในการสนทนา ทำให้มีความมั่นใจและกล้าที่จะสนทนาโต้ตอบกับชาวต่างชาติ และคนอื่นๆมากขึ้น และการอ่าน การรู้และเข้าใจหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็มีความสำคัญต่อการอ่านด้วยเช่นกัน แต่จะไปในทางการออกเสียง หรือ ที่เรียกว่า Phonetic มากกว่า และที่สำคัญการเขียน เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราควรจะมีความรู้ในด้านหลักไวยากรณ์ให้มากๆ เพราะการเขียนในทุกๆครั้งจะต้องถูกหลักไวยากรณ์ ถ้าหากงานเขียนของเราผิดหลักไวยากรณ์จะเป็นสิ่งที่ใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับทุกๆทักษะทั้งหมด ซึ่งจะทำให้งานเขียนของเราไม่ดี และไม่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากทักษะทั้งสี่อย่างเหล่านี้แล้ว สิ่งสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษให้เข้าใจ นั่นคือการแปลความหมายของประโยคหรืองานเขียนต่างๆได้ ดังนั้นก่อนที่จะได้งานแปลที่มีประสิทธิภาพ เราจะต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องของประโยค (Sentence) หรือ กาลของประโยค (Tense) และคำศัพท์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการแปลความหมายในประโยคหรืองานเขียนภาษาอังกฤษ ในสัปดาห์ที่ผ่านๆมา ดิฉันได้ศึกษา เกี่ยวกับรูปแบบต่างๆของประโยค รวมทั้ง tense ต่างๆ ทั้ง 12 tense ฉะนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง  ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) หรือที่เรียกว่า If-Clause ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีปัญหาในการเขียนและแปลเป็นอย่างมาก

If-sentence คือ ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) หมายถึง ประโยคที่ผู้พูดสมมติหรือคาดการณ์ขึ้นมาว่า ถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นตามมา ซึ่งประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.             เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ (Real Conditions)
2.             เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Conditions)
3.             เงื่อนไขที่อาจเป็นจริงหรืออาจไม่เป็นจริงก็ได้ (Possible Conditions)
4.             เงื่อนไขซึ่งตรงกันข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว (Unreal Conditions)
ซึ่งประโยคเงื่อนไขนั้นจะประกอบด้วย 2 ส่วน (2 clause) คือ ส่วนที่อยู่หลัง if เรียกว่า if-clause และส่วนที่เหลือเรียกว่า Main clause หรือ Principle clause (คือ ประโยคใหญ่หรือประโยคหลัก) เช่น
If-Clause                                                               Main Clause
If water boils,                                               it will change into steam.
If it rains,                                                      I shall stay at home.

การใช้เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ (Real Conditions)

                เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ (Real Conditions) หมายถึง ถ้ามีการกระทำหรือเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์เช่นนั้นก็จะเกิดขึ้นตามมาทันทีโดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น
   -                   ถ้าน้ำเดือด มันก็จะกลายเป็นไอ
   -                   ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ โลกก็จะมืด

แบบที่ 1  :     If + Present, + Present

เช่น       
-  If water boils, it changes into steam.
-      If the students study hard, they pass their exams.
-      If my dog sees a stranger, it barks out loud.

แบบที่ 2 :        If + Present, + Future

เช่น       
-  If the sun does not shine, all animals will die.
-      If you speak Chinese, he won’t understand you.
หมายเหตุ : รูปกริยาที่เขียนไว้ในกรอบว่า “Present” ข้างบนนี้ หมายความว่าจะเป็น Present แบบไหนก็ได้ เช่น Present Simple, Present Perfect หรือ Present Continuous ได้ทั้งนั้น แล้วแต่ใจความที่ผู้พูดต้องการพูดเป็นหลัก รวมทั้ง Future ด้วยเช่นกัน เช่น
-     If my dog has seen a stranger, it will give barks.
-     If he begins early morning, he will have finished by noon.
-     If my buffalo is drinking water, it will lower its head.

แบบที่ 3 :    If + Present + Imperative

เช่น       
-  If you see him, tell him to visit me.
-     Don’t smoke a cigarette if you are sick.
-     If he comes, don’t let him get in.

      If – Present      +     Future (ที่เทียบเท่ากันได้)          
เช่น                                                             
      If you go out tonight, you (must, ought to, should, have to) put a coat on.                                                                 If he comes, I can speak to him.
**(กริยาใน 2 ประโยคนี้ มีลักษณะเป็น Future ใช้แทน will, shall ได้)

การใช้เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Conditions)

เงื่อนไข (หรือการสมมติ) ที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Conditions) หมายถึงเงื่อนไขที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หรือไม่อาจเป็นไปได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต เป็นเรื่องที่ผู้พูดสมมติ หรือตั้งเงื่อนไขลม แล้งๆ ขึ้นมาเท่านั้น เช่น ถ้าฉันเป็นนก ฉันจะมีความสุขมาก


รูปกริยาคือ                 If  +  Past Simple, +  Future in the Past
                                (= If + Subject + Verb 2, + Subject + would + Verb 1)

เช่น    
-   If I were a bird, I would be very happy.
   -     I would go abroad if I had a lot of money.
   -     If today were Sunday, We would be at home.
***หมายเหตุ : เฉพาะ Verb to be ที่นำมาใช้กับการสมมติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือในเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้นี้ ให้ใช้ were รูปเดียว ไม่ว่ากับประธานตัวไหนก็ตาม
**กริยาช่วยในประโยค Main Clause (คือ ประโยคที่ตามหลัง if - clause) นอกจากจะใช้ would (หรือ should) แล้วยังสามารถใช้กริยาตัวอื่นได้อีก คือ might, could แต่ความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย คือ
           would, should            :     ใช้กับผลที่เกิดขึ้นตามสมมติ (C)
           might                         :      ใช้กับการคาดคะเน (Possibility)
           could                          :      ใช้กับการอนุญาตหรือความสามารถ (Permission or Ability)
เช่น      -  If she came, I should see her.
            -  If she came, I might see her.
            -  If it stopped snowing, you could go out.

การใช้เงื่อนไขที่อาจเป็นจริงหรืออาจไม่เป็นจริงก็ได้ (Possible Conditions)

                เงื่อนไข (หรือการสมมติ)ที่อาจเป็นจริงหรืออาจไม่เป็นจริงก็ได้ (Possible Conditions) หมายถึง    ถ้ามีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ผลของเหตุการณ์อาจจะเกิดขึ้นตามที่ว่านั้น หรืออาจไม่เกิดขึ้นจริงตามที่ว่านั้นก็ได้”  เช่น ถ้าคุณไม่ขยันขึ้นอีก คุณจะสอบตก
รูปประโยคที่ใช้ในเงื่อนไขนี้แยกออกเป็น 2 Tense หรือ 2 กรณี คือ
              1.  เมื่อผู้พูดแน่ใจว่า เงื่อนไขนั้นจะเป็นจริง ผลก็จะเกิดขึ้นตามความจริง ใช้

                If + Present + ประโยค will + กริยาช่องที่ 1

เช่น 
             -                  If he hurries, he will be in time”
             -                  If John tries hard, he will succeed.
2.   เมื่อเป็นเงื่อนไขธรรมดา ซึ่งผู้พูดไม่แน่นอนใจอะไรเป็นพิเศษหนัก ต้องการเพียงเพื่อให้ได้พูดออกไปเท่านั้น ใช้

                   If + Past + ประโยค would + กริยาช่อง

เช่น
           -         If David hurried, he would be in time
           -         If she left early, she would catch the rain.
(ประโยคเงื่อนไขธรรมดา ผู้พูดไม่แน่ใจอะไรเป็นพิเศษ จึงใช้ Past และ would )
***หมายเหตุ : ตามกฎข้อที่ 2 นี้แม้รูปกริยาเป็น past แต่ความหมายเป็นปัจจุบันและอนาคตเท่านั้น

การใช้เงื่อนไขซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว (Unreal Conditions)
               
                เงื่อนไข (หรือการสมมติ) ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว (Unreal Conditions) หมายถึง การสมมติในเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีตโน้น และผู้พูดก็ทราบดีว่าเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร แต่ผู้พูดก็นำมาพูดสมมติเสียใหม่ คือสมมติให้ตรงกันข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นเช่น ถ้าคุณไม่ได้ฆ่าน้องชายเขา คุณก็คงไม่ติดคุก
รูปแบบของกริยาในเงื่อนไขนี้ คือ

                                           If  + Past Perfect + would have + กริยาช่องที่ 3
เช่น
             -                  If he had gone there, I would have seen him.
             -                  The soldiers would have fought better if they had been given clear orders.
             -                  If Daeng had studied harder, he would not have failed.
***ถ้าหากผู้พูดต้องการให้มีความหมายถึงความต่อเนื่องจากอดีตมาถึงปัจจุบัน จะใช้ Past Perfect Continuous ใน if-sentence ได้ เช่น
             -                  If he had been listening carefully, he wouldn’t have misunderstood.

ประโยคเงื่อนไขที่ไม่มี “If”
ในประโยค If – clause หรือ If – sentence เราอาจจะใช้คำอื่นแทน if ได้ ทั้งนี้โดยตัด if ทิ้ง คำที่นำมาใช้แทน if ที่นิยมใช้กันมากมีอยู่ 3 คำ คือ should, were และ had  เช่น
Should :  
   -    Should you see Katty, tell her I want to visit.
             (= If you see Katty, tell her I want to visit.)
-              Should the weather be too bad, we won’t go for a picnic.
             (= If the weather be too bad, we won’t go for a picnic.)
-              Should you find it, please send it to me.
             (= If you find it, please send it to me.)
***หมายเหตุ : ประโยคที่ใช้ should แทน if จะนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด แต่ความหมายเหมือนกัน
Were :     
   -    Were they to go, I would give them money.
             (= If they went, I would give them money.)
หรือ   (= If they were to go, I would give them money.)
-              Were it not so late, she would telephone me.
           (= If  it weren’t so late, she would telephone me.)
-              Were they here, they would tell me.
           (= If they were here, they would tell me.)
***หมายเหตุ : ประโยคเงื่อนไขตามลักษณะดังกล่าวนี้ จะใช้ were เท่านั้น แทน if  และนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่าพูดเช่นกัน
Had :       
  -   Had I known her address, I would have visited her.
             (= If I had known her address, I would have visited her.)
-              Had he had much money, he would have bought a new car.
           (= If he had had much money, he would have bought a new car.)

คำที่ใช้แทน If หรือเทียบเท่า If

             ประโยคเงื่อนไข นอกจากจะใช้ if ขึ้นต้นประโยคแล้วเรายังใช้คำอื่นซึ่งเทียบเท่ากับ if (Words useded instead of “if” )ได้ด้วย ได้แก่
Unless  =  ถ้า............ไม่ (= if....................not), เว้นแต่, นอกจาก เช่น
-              Unless there is some rain, the flowers will die.
( = If there is no rain, the flowers will die.)
-              You will fail unless you study harder.
( = You will fail if you don’t study harder. )
-              Peter will miss the bus unless he runs.
( = Peter will miss the bus if he doesn’t run.)
-              Unless bad weather stops me, I go for a picnic every Sunday.
even if = แม้ว่า      เช่น
-              Even if I had no money, I wouldn’t borrow any from my friend.
-              Marry never hurries even if she is very late.
***นอกจากคำที่กล่าวมาแล้ว คำที่มีความหมายเช่นเดียวกับ if ก็มี  เช่น
             so long as                  =   ตราบเท่าที่, หากแม้ว่า
             suppose (that), supposing (that)     = ถ้าสมมติว่า
             provided (that)                     =  ในกรณีที่
             on condition (that)              =  ในกรณีที่
             in case                                 =  ในกรณีที่
สรุป
If – clause เป็น (ประโยคเงื่อนไข)
Main clause เป็น (ประโยคหลัก)
       -                   Present Simple
        -                   Future Simple
       -                   Past Simple
        -                   Future in the Past
       -                   Past Perfect
        -                   Future Perfect in the Past

จากการศึกษาเรื่อง ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) หรือที่เรียกว่า If-Clause สามารถสรุปได้ว่า ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) หรือ If-Clause แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ 1.เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ (Real Conditions) 2. เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Conditions) 3. เงื่อนไขที่อาจเป็นจริงหรืออาจไม่เป็นจริงก็ได้ (Possible Conditions) 4. เงื่อนไขซึ่งตรงกันข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว (Unreal Conditions) ซึ่งประโยคเงื่อนไขนั้นจะประกอบด้วย 2 ส่วน (2 clause) คือ ส่วนที่อยู่หลัง if เรียกว่า if-clause และส่วนที่เหลือเรียกว่า Main clause หรือ Principle clause (คือ ประโยคใหญ่หรือประโยคหลัก) หลักการใช้ประโยคเงื่อนไขที่ไม่มี “if” คือ จะใช้ should, were และ had แทน โดยมีความหมายเหมือนกับ “if”  รวมทั้งการใช้คำเทียบเท่า “if” เช่น unless และ even if เป็นต้น ซึ่งการศึกษาเรื่อง ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) หรือที่เรียกว่า If-Clause เป็นเรื่องที่ยาก และมีความซับซ้อน เพราะประโยคเงื่อนไขทั้งสี่ชนิดจะมีความคล้ายคลึงกันจึงยากที่จะแยกแยะและทำความเข้าใจได้พอสมควร แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในครั้งนี้ ดิฉันได้รับประโยชน์ต่างๆอย่างมากมาย ได้รู้ถึงโครงสร้างของประโยคเงื่อนไขหรือที่เรียกว่า If-Clause แต่ละชนิด รวมถึงหลักการใช้ If-Clause ในแบบต่างๆ ดิฉันสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ ทั้งการสร้างประโยค สร้างงานเขียนต่างๆ รวมทั้งการแปลความหมายจากประโยค If-Clause ด้วย รวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติมในครั้งนี้ทำให้ดิฉันมีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้และศึกษาเพิ่มเติมมากน้อยเพียงใด ถ้าหากดิฉันนำไปปรับใช้จริงๆ และศึกษาเรื่องเหล่านี้อยู่เสมอ ดิฉันก็จะมีความรู้ความชำนาญในเรื่องเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ การศึกษา ทำความเข้าใจในเรื่องใดก็แล้วตา จะต้องใช้เวลาในการศึกษาและมีการฝึกฝน รวมทั้งนำไปปรับใช้อย่างสม่ำเสมอ จึงจะประสบผลสำเร็จ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น