วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log (Noun Clause) Eighth :( 6th October, 2015)

Learning log
Noun Clause
Eighth :( 6th October, 2015)
การเรียนภาษาอังกฤษ สิ่งสำคัญที่ควรรู้และมีความเข้าใจนั่นคือ หลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษซึ่งสิ่งเหล่านั้นสามารถช่วยพัฒนาผู้ศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านทักษะต่างๆ ซึ่งสิ่งเล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับหลักไวยากรณ์เป็นส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าวได้ว่าทั้งหมดก่อนเป็นไปได้ และไม่ใช่เพียงแค่ช่วยพัฒนา ทักษะการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน ของเราเพียงอย่างเดียว แต่การรู้และมีความชำนาญในการใช้หลักไวยากรณ์อย่างถูกก็สามารถเพิ่มพูนความรู้ของเรา สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษได้ในทุกๆรูปแบบและใช้ได้จริงในทุกๆสถานการณ์ที่เราประสบพบเจอ อีกสำคัญประการหนึ่งคือ การแปลความหมายของประโยคภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาไทย ก็จำเป็นต้องแม่นยำและเข้าใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะการแปลจะต้องให้ถูกต้องตามหลักการและความหมายที่ถูกต้องตามประโยคภาษาอังกฤษ  จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้การแปลที่ถูกต้องตามหลักการและประโยคต้นแบบที่แปลมาอย่างมีประสิทธิภาพ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง If-clause ซึ่งเป็นประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) หมายถึง ประโยคที่ผู้พูดสมมติหรือคาดการณ์ขึ้นมาว่า ถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นตามมา ซึ่งประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ (Real Conditions), เงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Conditions), เงื่อนไขที่อาจเป็นจริงหรืออาจไม่เป็นจริงก็ได้ (Possible Conditions), เงื่อนไขซึ่งตรงกันข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว (Unreal Conditions) ซึ่งจะเกิดการสับสนในการแปลเป็นอย่างมาก ในทางเดียวกัน เรื่องที่ดิฉันจะศึกษาเพิ่มเติมจากในห้องเรียนนั่นก็คือ เรื่อง Noun Clause ซึ่งมีความยากในการแปลมากเช่นกัน ฉะนั้นดิฉันจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจให้มากขึ้น

Clause คือ ประโยคหลายประโยครวมกันอยู่ โดยแต่ละประโยคที่รวมกันอยู่ เรียกว่า clause” Clause จะแตกต่างจาก sentence คือ เมื่อประโยคที่อยู่ตามลำพัง เรียกว่า sentence แต่เมื่อมารวมกันเป็นประโยคใหญ่ โดยแต่ละข้อความที่มารวมนั้นเราเรียกว่า clause ซึ่ง clause สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1.        Noun Clause
2.        Adjective Clause
3.        Adverb Clause
แต่ในที่นี้ดิฉันจะศึกษา เรื่อง Noun Clause ซึ่ง Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำที่แสดงคำถาม คือ how, what, which, where, when, why, whose, whom เช่น
-                   I don’t know how he did it.
-                   What you want is in the bag.
-                   Who she is is still a question.
-                   He said that he knew you.
-                   I couldn't hear what she said.
-                   What she said is not important to me.
-                   I don't know where he lives.
-                   Where he lives is not far from my place.
-                   I don't know when he got up.
-                   When he got up is unknown.
-                   I don't know why she is smiling.
-                   Why she is smiling surprises me.
-                   I don't know which one my sister likes.
-                   Whichever my sister likes must be beautiful.
-                   I don't know who he is.     http://wavezaa.blogspot.com/2014/11/1-noun-clause.html
*หมายเหตุ : ตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมดนี้ Noun Clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (object) และเป็น
ประธานของประโยค (Subject) และ Noun clause ที่เชื่อมด้วย Question Words นี้จะต้องเรียงให้อยู่
ในรูปประโยคบอกเล่าคือประธาน (Subject) จะอยู่หน้าหรือก่อนกริยา (Verb) ยกเว้น who
ที่ประโยคบอกเล่าและคำถามเรียงเหมือนกัน (ประธานตามด้วยกริยา)
Noun Clause ที่เชื่อมด้วย whether, if
     สำหรับ whether หรือ if นี้ จะนำมาใช้เมื่อเปลี่ยนจากคำถามที่ตอบ yes หรือ no
(yet/no question) มาเป็น Noun Clause เท่านั้น
whether หรือ if แปลว่า "ว่า...หรือไม่"
ตัวอย่างเช่น
Will he come?   เขาจะมาไหม
-                   I don't know whether he will come.
-                   I don't know if he will come.
-                   I wonder whether or not he will come.
-                   I wonder whether he will come or not.
-                   I wonder if he will come or not.
-                   Whether he comes or not is not important to me.
Does she need help?  เธอต้องการให้ช่วยไหม
-                   I wonder whether she needs help.
-                   I wonder if she needs help.
Is this information correct? ข้อมูลนี้ถูกต้องไหม
-                   I don't know whether this information is correct.
-                   I don't know if this information is correct.
* หมายเหตุ : whether ใช้เป็นทางการมากกว่า ส่วน if ใช้ได้ทั่วไปโดยเฉพาะภาษาพูดและ or not มักใช้กับภาษาพูดและภาษาที่ไม่เป็นทางการมากกว่า

Noun Clause ที่เชื่อมด้วย that

ตัวอย่างเช่น
-                   I think that she is a good singer.
-                    I know (that) she is a good girl.
-                   That she doesn't like English is a big problem.
-                   That the world is round is a fact.

                                                     หน้าที่ (Function) ของ Noun Clause
            Noun Clause เมื่อนำมาใช้อย่างคำนาม หรือเหมือนเป็นคำนาม ก็จะมีหน้าที่เช่นเดียวกับคำนามทั่วๆไป คือ
1.             เป็นประธาน (Subject) ของกริยาได้ เช่น
-                   What she is doing seems very difficult.
(What she is doing เป็นประธานของกริยา seems)
-                   Where he lives is not known.
(Where he live เป็นประธานของกริยาของ is not known)
2.             เป็นกรรม (Object) ของกริยาได้ เช่น
-                   I want to know where she lives.
(Where she lives เป็นกรรมของ know)
-                   He promised that he would pay back the debt.
(that he would pay back the debt เป็นกรรมของกริยา promised)
3.             เป็นกรรม (Object) ของบุรพบท (Preposition) ได้ เช่น
-                   Wanna laughed at what you said.
(What you said เป็นกรรมของ at)
-                   She is waiting for what she wants.
(What she wants เป็นกรรมของ for)
4.             เป็นส่วนสมบูรณ์ (Complement) ของกริยาได้ เช่น
-                   This is what you want.
(What you want เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา is)
-                   It seems that it is impossible.
(that it is impossible เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา seems)
-                   He has become what we expected.
(what we expected เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา become)
5.             เป็นคำซ้อนของคำนามตัวอื่นได้ (Appositive) เช่น
-                   His belief that coffee will keep him alert is incorrect.
(that coffee will keep him alert เป็นคำซ้อนของ belief)
-                   The news that he intended to come gave us much pleasure.
(that he intended to come เป็นคำซ้อนของคำนาม news)

การละ that (omission of that) ในประโยค Noun Clause

ประโยค Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย that หรือนำหน้าประโยคด้วย that นั้น ถ้าเป็นภาษาธรรมดา (Informal) โดยเฉพาะภาษาพูด (Spoken Language) แล้ว มักจะละ that เสมอ เช่น
-                   He says coffee grows in Brazil.
(= He say that coffee grows in Brazil.)
-                   I know he’ll return soon.
(= I know that he’ll return soon.)
ข้อยกเว้น : แต่กรณีต่อไปนี้ ประโยค Noun Clause จะต้องใช้ that เสมอ จะละไว้ในฐานที่เข้าใจไม่ได้ คือ
1.        เมื่อ that – clause ขึ้นต้นประโยค ต้องใส่ that เสมอ เช่น
-                   That coffee grows in Brazil is true.
-                   That she had decided to be engaged frightened me very much.
2.        เมื่อ that – clause เป็นคำซ้อนคำนามที่วางอยู่ข้างหน้ามัน (Appositive) ต้องใส่ that เสมอ เช่น
-                   The news that he was murderer is not true.
-                   His belief that the earth moves round the sun is correct.
3.        เมื่อ that – clause อยู่หลัง It is (หรือ It was) ต้องใส่ that เสมอ เช่น
-                   It is true that the earth moves round the sun.
-                   It is impossible that he has done this by himself.

             จากการศึกษาเรื่อง Noun Clause ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกันในการเรียนภาษาอังกฤษและเป็นการช่วยในการแปลประโยค Noun Clause ภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาไทยได้ง่ายขึ้นเพราะหากเราศึกษาเราก็จะเข้าใจในหลักการและตัวอย่างความหมายของประโยคต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำที่แสดงคำถาม คือ how, what, which, where, when, why, whose, whom เช่น I don’t know how he did it., What you want is in the bag. ตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมดด้านบน Noun Clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (object) และเป็นประธานของประโยค (Subject) และ Noun clause ที่เชื่อมด้วย Question Words นี้จะต้องเรียงให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่าคือประธาน (Subject) จะอยู่หน้าหรือก่อนกริยา (Verb) ยกเว้น who ที่ประโยคบอกเล่าและคำถามก็จะเรียงเหมือนกัน (ประธานตามด้วยกริยา) ส่วน Noun Clause ที่เชื่อมด้วย whether, if สำหรับ whether หรือ if นี้ จะนำมาใช้เมื่อเปลี่ยนจากคำถามที่ตอบ yes หรือ no (yet/no question) มาเป็น Noun Clause เท่านั้น เช่น I don't know whether he will come. , I don't know if he will come. , I don't know whether this information is correct., I don't know if this information is correct. สิ่งที่ควรจำคือ  whether ใช้เป็นทางการมากกว่า ส่วน if ใช้ได้ทั่วไปโดยเฉพาะภาษาพูดและ or not มักใช้กับภาษาพูดและภาษาที่ไม่เป็นทางการมากกว่า Noun Clause ที่เชื่อมด้วย that ตัวอย่างเช่น              I think that she is a good singer.,I know (that) she is a good girl.   และที่สำคัญคือ หน้าที่ (Function) ของ Noun Clause นั่นคือ 1. เป็นประธาน (Subject) ของกริยาได้ 2.เป็นกรรม (Object) ของกริยาได้ 3.เป็นกรรม (Object) ของบุรพบท (Preposition) 4. เป็นส่วนสมบูรณ์ (Complement) ของกริยาได้ และ 5. เป็นคำซ้อนของคำนามตัวอื่นได้ (Appositive) และมีหลักการละ that (omission of that) ในประโยค Noun Clause ซึ่งจากเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาที่ดิฉันสรุปได้จากศึกษาเรื่อง Noun Clause ซึ่งทำให้ดิฉันเข้าใจในเรื่องดังกล่าวนี้เพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น