การฝึกทักษะการเขียน
(15th
September, 2015)
การฝึกทักษะในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่านจากการอ่านบทความภาษาอังกฤษมาเป็นเวลาสองสัปดาห์
ซึ่งดิฉันรู้สึกว่า ทักษะการอ่านของข้าพเจ้าได้พัฒนาไปมากพอสมควร แต่การฝึกทักษะการอ่านเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะนี้เป็นอย่างมากเช่นกัน
ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่าน จากบทความ ดังนี้ บทความ เรื่อง Drinking water before meals helps dietin, เรื่อง 10 Things You Can
Do to Help Save the Earth และ เรื่อง Workout Routines for
Women ซึ่งทั้ง 3 บทความมีเนื้อหาที่น่าสนใจและน่าอ่านมาก
อีกทั้งคำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่อ่านง่ายและเข้าใจง่าย ซึ่งในตอนแรกดิฉันก็อ่านบทความนี้ไปประมาณเรื่องละ
3-4 ครั้ง คืออ่านโดยไม่ได้ค้นหาว่าคำศัพท์คำนั้นที่จริงแล้วต้องอ่านออกเสียงอย่างไรถึงจะถูกต้อง
และคำศัพท์ยากแต่ละคำที่ดิฉันยังไม่รู้ว่ามีความหมายว่าอย่างไรบ้าง เพราะดิฉันจะลองฝึกทักษะการอ่านของดิฉันว่าเป็นอย่างไรบ้าง
และทดสอบความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆในสมองว่ามีเท่าไหร่
ซึ่งดิฉันคิดว่าจากการฝึกทักษะในสัปดาห์ที่แล้ว
ดิฉันได้พัฒนาทักษะการอ่านไปได้แล้วในระดับหนึ่ง
ในสัปดาห์นี้ดิฉันจึงต้องการจะฝึกทักษะการเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่ยากที่สุดสำหรับตัวดิฉันเอง
ซึ่งการเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน
การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก
ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ ฉะนั้นการเขียนที่ดีจะต้องเกิดจากความคิดที่ดีและมีเหตุผล
รวมทั้งมีความชำนาญทางด้านไวยากรณ์ในการแต่งประโยค อีกทั้งการใช้คำที่สละสลวยในงานเขียนของเราด้วย
ซึ่งดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนตั้งแต่วันอังคารที่ 15 เดือน
กันยายน พ.ศ.2558 – วันอาทิตย์ที่ 20 เดือน
กันยายน พ.ศ.2558
วันอังคารที่
15
– วันพุธที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนจากการอ่านนิทานอีสปเรื่อง The Fox
without a Tail จาก http://funstory69.blogspot.com/
เหตุผลที่ดิฉันเลือกฝึกทักษะการเขียนจากนิทานอีสปเรื่องนี้ เพราะ
นิทานเรื่องนี้ มีเนื้อหาไม่มากเกินไป
ดึงดูดความสนใจในการอ่านและการสรุปความออกมาเพื่อการเขียน
ซึ่งเป็นนิทานอีสปที่อ่านแล้วไม่เบื่อหน่าย
ซึ่งในตอนแรกดิฉันก็อ่านโดยไม่ค้นหาคำศัพท์ใดๆก่อน คือ
อ่านแบบคร่าวๆไม่เน้นความถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกทักษะในการอ่าน
และการกล้าที่จะพูดสิ่งเหล่านั้นออกมา
จากนั้นดิฉันก็เริ่มค้นหาคำศัพท์ยากต่างๆที่ดิฉันไม่รู้ ดิฉันสามารถสรุปนิทานเรื่องนี้
ได้ว่า มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งมันต้องสูญเสียหางของมันไปเพราะกับดักล่าสัตว์
ในตอนแรกมันอับอายที่จะให้เพื่อนสุนัขจิ้งจอกด้วยกันเห็นว่ามันไม่มีหาง แต่สุดท้ายมันก็ตัดสินใจที่จะยอมรับกับความโชคร้ายในครั้งนี้
มันจึงเรียกสุนัขจิ้งจอกทุกตัวมาประชุม เมื่อสุนัขจิ้งจอกมาอยู่ร่วมกันในที่ประชุม
เจ้าสุนัขจิ้งจอกหางด้วนจึงพยายามพูดชักจูงสุนัขจิ้งจอกตัวอื่น ๆ
ให้เห็นว่าการมีหางจะทำให้พวกมันลำบาก เกะกะ และเสียเปรียบเมื่อถูกพวกศัตรู หรือเกะกะเวลาเรานั่งคุยกับใคร
มันล้มเหลวกับการชักจูงสุนัขจิ้งจอกตัวอื่นให้เห็นถึงข้อดีของการไม่มีหาง
จนกระทั่งสุนัขจิ้งจอกเฒ่าตัวหนึ่งจึงพูดขึ้นมาว่า "ที่เจ้าพูดมามันก็ถูก
แต่ข้าไม่คิดเช่นนั้น เจ้าพยายามจะแนะนำให้พวกเราเป็นเหมือนเจ้าที่ต้องสูญเสียหางไปก็เท่านั้นเอง
" ต่อมาในวันพุธที่ 16 เดือน
กันยายน พ.ศ.2558 ข้าพเจ้าได้นำนิทานอีสปเรื่อง The
Fox without a Tail ที่ดิฉันได้สรุปเนื้อหาไว้ข้างต้นแล้ว
นำมาฝึกเขียนเป็นนิทานเรื่องย่อ ซึ่งนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของการฝึกทักษะการเขียนของดิฉัน
ซึ่งดิฉันใช้เวลาในการเขียนสรุปเรื่องดังกล่าวมากพอสมควร
เพราะจะต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ รวมทั้งคำศัพท์ที่ใช้ด้วย
ดิฉันก็เขียนเป็นฉบับร่างก่อนเพื่อให้เพื่อนช่วยกันตรวจดูความถูกต้องทางหลักไวยากรณ์
และหลักจากนั้นดิฉันก็เริ่มเขียนแบบจริงจังลงในกระดาษ และตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
และที่สำคัญสำหรับการฝึกทักษะการเขียนในครั้งนี้
ดิฉันได้เรียนรู้หลักการใช้ไวยากรณ์ต่างๆอย่างมากมาย
ซึ่งเป็นการนำมาใช้ในประโยคอย่างจริงๆ
รวมทั้งได้เรียนรู้และฝึกเขียนคำศัพท์ต่างๆที่เป็นคำศัพท์ยากที่ดิฉันไม่รู้ด้วย
วันพฤหัสบดีที่
17
– วันศุกร์ที่ 18 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนโดยการเขียนบันทึกกิจวัตรประจำวันของดิฉัน ในวัน พฤหัสบดีที่
17 – วันศุกร์ที่ 18 เดือน กันยายน
พ.ศ. 2558 ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนในตอนค่ำทั้งสองวัน
ว่าดิฉันได้ทำกิจกรรมใดไปบ้าง ซึ่งในการเขียนฉบับร่างครั้งแรกดิฉันจะเขียนเป็นภาษาไทยก่อน
เพื่อเป็นการจัดลำดับเหตุการณ์ว่าภายในหนึ่งวันต่อหนึ่งย่อหน้า
ดิฉันจะเขียนเหตุการณ์หรือประโยคใดลงไปบ้าง คือตั้งแต่ตื่นนอนก็ใช้ประโยคภาษาอังกฤษ
คือ I always get up at six o’clock in the morning. จากนั้นก้อจัด
เก็บที่นอนให้เรียบร้อย ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ และแต่งตัว คือใช้ประโยค ดังนี้ After
making my bed, I wash my face, brush my teeth, take a shower and get dressed. เมื่อเวลา 06.30 น. ดิฉันช่วยเพื่อนจัดโต๊ะสำหรับอาหารเช้า
At half past six, I help my friends to set up the table for our
breakfast. จากนั้นดิฉันก็รับประทานอาหารเช้า After eating
my breakfast, ทำความสะอาดโต๊ะI clean up the table. เวลา 07.30 น.
ดิฉันไปมหาวิทยาลัยโดยรถจักรยานยนต์ At seven, I go to a university by
motorcycle. ห้องเรียนของดิฉันเริ่มเวลา 08.20
น. My first class begins at eight twenty ดิฉันเรียนจนถึงตอนเที่ยงI
study until noon. จากนั้นก็รับประทานอาหาเที่ยงร่วมกับเพื่อนๆ
Then I have lunch together with my friends.ดิฉันยังคงเรียนต่อในตอนบ่ายโมง
I continue my class at one o’ clock in the afternoon. ดิฉันเรียนเสร็จเวลาบ่ายสี่โมงเย็น
I finish school at four o’clock. ดิฉันกลับถึงหอพักประมาณบ่ายห้าโมงเย็นเป็นประจำI
usually go dormitory around five o’clock. ซึ่งในวันศุกร์ที่ 18
เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันก็ได้ เขียนบันทึกกิจวัตรประจำวันของดิฉันในลักษณะนี้อีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบและฝึกทักษะการเขียนของดิฉันทั้งสองครั้งนี้ด้วย
จากการฝึกทักษะการเขียนจากงานเขียนชิ้นนี้
ดิฉันก็ให้เพื่อนๆช่วยตรวจสอบความถูกต้องของหลักไวยากรณ์ในการแต่งประโยคต่างๆ
รวมทั้งการสะกดคำศัพท์ให้ถูกต้องด้วย ซึ่งในการฝึกทักษะการเขียนในครั้งนี้
ดิฉันได้เรียนรู้หลักการใช้ไวยากรณ์ต่างๆอย่างมากมาย
ซึ่งเป็นการนำมาใช้ในประโยคอย่างจริงๆ
รวมทั้งได้เรียนรู้และฝึกเขียนคำศัพท์ต่างๆที่ยังไม่ทราบได้ถูกต้องด้วย
วันเสาร์ที่
19
- วันอาทิตย์ที่ 20 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนจากการเขียน เรียงความเรื่อง Father’s
Day โดยศึกษาวิธีการเขียนเรียงความมาจากเรียงความในอินเตอร์เน็ตและจากความรู้เดิมที่เคยเรียนมา
ซึ่งเป็นการทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ในด้านการเขียนด้วย ดิฉันเริ่มจากวาง outline
ซึ่งการวาง outline จะประกอบด้วย introduction,
body1, body2, body3 และ
conclusion การเขียน outline เป็นสิ่งที่สำคัญมากในงานเขียนเพราะจะทำให้เราสามารถจัดลำดับของเหตุการณ์ที่จะนำมาเขียนได้อย่างเป็นระบบ
ทำให้งานเขียนของเราไม่เขียนวกไปวนมา เพราะมันจะแยกตามหัวข้อหรือประเด็นต่างๆที่เราใส่ไว้แล้ว
เพียงแต่เมื่อนำมาเขียนจริงเราก็แค่เพิ่มรายละเอียดต่างๆลงไป จากนั้นก็เริ่มหา topic
sentence คือประโยคที่เป็นใจความหลักที่สำคัญและครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละ
paragraph หรือ เรียกว่า “main idea”
หลังจากนั้นก็ใส่รายละเอียดของแต่ละ paragraph ลงไปซึ่งเราเรียกว่า
supporting detail ซึ่งรายละเอียดที่จะนำมาใส่ในแต่ละ paragraph นั้นจะสอดคล้องและเชื่อมโยงไปในทางเดียวกันกับ topic sentence ของแต่ละ paragraph ด้วยเช่นกัน ซึ่งในการฝึกทักษะการเขียนครั้งนี้จะต้องใช้เวลาในการเขียนเป็นอย่างมาก
เพราะจะต้องใช้ความคิดในการรวบรวมเนื้อหาต่างๆที่จะนำมาเขียน
และจัดลำดับความสำคัญและความสัมพันธ์ของเนื้อหาต่างๆ
เพื่อที่จะให้งานเขียนของดิฉันไม่วกวน ดิฉันได้ทำการเขียน draft ที่ 1 เสร็จและให้เพื่อนๆช่วยกันตรวจสอบในเรื่องของไวยากรณ์ต่างๆ
รวมทั้งความถูกต้องของคำศัพท์ต่างๆที่เขียนไป รวมทั้งเนื้อหาต่างๆด้วย และในวันอาทิตย์ที่
20 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 ดิฉันได้นำข้อผิดพลาดในงานเขียน
draft ที่ 1
จากการช่วยกันตรวจสอบของดิฉันและเพื่อนๆ นำมาแก้ไขใหม่อีกครั้ง โดยครั้งนี้ เป็น draft ที่ 2 ซึ่งดิฉันก็ได้แก้ไขข้อผิดพลาดในหลักไวยากรณ์ต่างๆ
โดยศึกษาจากในหนังสือบ้าง ในอินเตอร์เน็ตบ้าง รวมทั้งสอบถามจากเพื่อนๆบ้าง
เพื่อจะทำให้งานเขียนของดิฉันใน draft ที่ 2 มีเนื้อหาที่ถูกต้องมากที่สุด
รวมทั้งมีความสละสลวยดึงดูดความสนใจของผู้อ่านด้วย
ซึ่งการแก้ไขในครั้งนี้ดิฉันให้รุ่นพี่ช่วยตรวจให้
จากนั้นเมื่อตรวจเสร็จดิฉันก็นำมาเขียนเป็นเรียงความฉบับจริง
ซึ่งในการฝึกทักษะการเขียนในครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้หลักการใช้ไวยากรณ์ต่างๆอย่างมากมาย
ซึ่งเป็นการนำมาใช้ในประโยคอย่างจริงๆ
รวมทั้งได้เรียนรู้และฝึกเขียนคำศัพท์ต่างๆที่ยังไม่ทราบได้ถูกต้องด้วย
ซึ่งจะทำให้มีคลังคำศัพท์ที่เพิ่มขึ้น
ในสัปดาห์นี้ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนฝึกเป็นทักษะที่ฝึกยากที่สุดสำหรับตัวของดิฉันเอง
ซึ่งดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียน ดังนี้ วันอังคารที่ 15 – วันพุธที่
16 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนจากการอ่านนิทานอีสปเรื่อง
The Fox without a Tail จาก http://funstory69.blogspot.com/
วันพฤหัสบดีที่ 17 –
วันศุกร์ที่ 18 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558
ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนโดยการเขียนบันทึกกิจวัตรประจำวันของดิฉันเอง
และ วันเสาร์ที่ 19 - วันอาทิตย์ที่ 20 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนจากการเขียน
เรียงความเรื่อง Father’s Day
ซึ่งในครั้งแรกเป็นการฝึกทักษะการเขียนจากการอ่านสรุปความนิทานอีสป
แล้วนำเนื้อหาที่เป็นใจความสำคัญที่สรุปได้นำมาเขียนเป็นเรื่องราวโดยใช้ภาษาของตัวดิฉันเอง
และครั้งที่สอง
ฝึกทักษะการอ่านโดยการเขียนบันทึกกิจวัตรประจำวันของดิฉันเองตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนในทั้งสองวัน
ว่าดิฉันได้ทำกิจกรรมใดไปบ้าง และวันสุดท้ายของการฝึกทักษะในสัปดาห์นี้ คือ
การฝึกการเขียนเรียงความ เรื่อง Father’s Day
ซึ่งได้เริ่มจากการวาง outline นั่นก็คือ โครงเรื่อง
ซึ่งมีความสำคัญมากในการเขียนเรียงความหรืองานเขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
เพราะจะทำให้งานเขียนของเรามีเนื้อหาที่เป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ ไม่วกไปวนมา
คือแต่ละ paragraph ได้มีการกำหนดหัวข้อหลักและรายละเอียดย่อยต่างๆที่เกี่ยวข้องในแต่ละ
paragraph อย่างชัดเจน จากนั้นก็เริ่มหา topic
sentence คือประโยคที่เป็นใจความหลักที่สำคัญและครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละ
paragraph และก็ใส่รายละเอียดของแต่ละ paragraph ลงไปซึ่งเราเรียกว่า supporting detail ซึ่งรายละเอียดที่จะนำมาใส่ในแต่ละ
paragraph นั้นจะต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงไปในทางเดียวกันกับ
topic sentence ของแต่ละ paragraph
ด้วยเช่นกัน ในการเขียนทั้งสามครั้งของดิฉัน ดิฉันจะเขียนโยฉบับร่างก่อน
แล้วให้เพื่อนๆและรุ่นพี่ของดิฉันช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
จากนั้นจึงนำมาสู่การเขียนในฉบับจริง
ซึ่งดิฉันคิดว่าการฝึกทักษะการเขียนในสัปดาห์นี้ให้ประโยชน์และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในด้านการเขียนของดิฉันอย่างมากพอสมควร
นอกจากดิฉันได้พัฒนาทักษะการเขียนให้ดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ดิฉันรู้และเข้าใจหลักการใช้ไวยากรณ์ต่างๆได้มากขึ้นด้วย
เพราะในที่นี้ดิฉันได้นำมาใช้จริงในการแต่งประโยคต่างๆ รวมทั้งได้ประโยชน์ในด้านคำศัพท์ยากต่างๆซึ่งทำให้ดิฉันรู้คำศัพท์มากขึ้น
เขียนได้ อ่านถูก ส่งผลให้คลังคำศัพท์ที่มีอยู่เพิ่มขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น