Learning log
Part of Sentences
Fourth : (1st September,2015)
การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของกาล
(Tense)
ในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนภาษาอังกฤษ
เพราะผู้เรียนสามารถสร้างประโยคได้ถูกต้องตามหลักการและเวลาของเนื้อหาที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้น
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Tense มามากพอสมควรแล้ว
ซึ่ง Tense เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นตัวบอกเวลาในประโยคนั้นๆ
นอกจาก Tense เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างประโยคแล้ว สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น
คือเราจะต้องรู้และเข้าใจในเรื่อง ประเภทของประโยคด้วย
จึงจะสามารถสร้างประโยคได้ถูกต้องตามหลักการและมีความสละสลวย ซึ่งประโยค (Sentence) สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ Simple Sentence (เอกัตถประโยค), Compound
Sentences (อเนกัตถประโยค) Complex Sentences (สังกรประโยค)
และ Compound Complex Sentences (อเนกัตถสังกรประโยค) โดยที่ Simple Sentence (เอกัตถประโยค)
เป็นการสร้างประโยคในรูปแบบธรรมดาโดยทั่วไป เป็นประโยคความเดียวที่ดิฉัน มีความเข้าใจและสามารถสร้างประโยคได้
แต่ในงานเขียนแต่ละครั้งเราจะต้องสร้างประโยคที่มีหลากหลายรูปแบบ
งานเขียนของเราถึงจะสมบูรณ์และมีความน่าสนใจในด้านเนื้อหา ในที่นี้ดิฉันต้องการศึกษาการสร้างประโยคแบบ
Compound Sentence (อเนกัตถประโยค) Complex Sentence (สังกรประโยค) และ Compound Complex Sentence (อเนกัตถสังกรประโยค)
เป็นการสร้างประโยคที่ซับซ้อนขึ้น เป็นทั้งประโยคความรวมและประโยคความซ้อน
เป็นการสร้างประโยคในระดับที่ยากขึ้นกว่า Simple Sentence
ซึ่งดิฉันยังไม่แม่นยำและเข้าใจในการสร้างประโยคในแบบเหล่านี้เท่าที่ควร รวมทั้งการแต่งประโยคโดยการใช้
Adjective Clause ฉะนั้น ดิฉันจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
และทำความเข้าใจ รวมทั้งทำแบบฝึกหัดในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น
ทั้งในการสร้างประโยคแบบ Compound Sentence (อเนกัตถประโยค)
Complex Sentence (สังกรประโยค) และ Compound Complex
Sentence (อเนกัตถสังกรประโยค)
Compound
Sentence (อเนกัตถประโยค) หมายถึง ประโยคที่มี Simple Sentence
2 ประโยคมารวมเข้าด้วยกัน โดยมีการเชื่อมด้วย Co-ordinator ได้แก่
1.
เครื่องหมายวรรคตอน
(Punctuation)
2.
วิเศษณ์เชื่อม (Conjunctive Adverb)
1.
การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
ซึ่งเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมนำมาใช้เชื่อม Simple Sentence เพื่อให้เป็น Compound Sentence
มีดังต่อไปนี้
Semi – Colon (;)
Colon (:)
Dash (-)
Comma (,)
Semi – Colon (;) ใช้เชื่อมประโยคในกรณีที่ผู้เขียนยังรู้สึกไม่อยากขึ้นต้นประโยคใหม่
เพราะเห็นว่าใจความยังมีความต่อเนื่องกันอยู่ หรืออาจจะใช้ period (.) แทน Semi – Colon
ขึ้นประโยคใหม่ก็ได้ เช่น
-
Daeng was sick ; he didn’t work
yesterday.
=
Daeng was sick. He didn’t work yesterday.
Colon (:) และ Dash (-) ใช้เชื่อมในกรณีที่ผู้เขียนเห็นว่า ผลของประโยคหลังมีสาเหตุมาจากประโยคข้างหน้า
เช่น
-
Daeng was sick : he didn’t work
yesterday. หรือ
= Daeng was sick - he didn’t work
yesterday. ซึ่งการที่แดงไม่ทำงานเมื่อวานนี้ก็เป็นผลจากแดงไม่สบาย อาจใช้ Colon (:) และ Dash (-) ได้
Comma (,) เครื่องหมายนี้ใช้เชื่อมในกรณีที่ผู้เขียนเห็นว่า
เหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้น ถ้าจะขึ้นต้นประโยคใหม่ก็จะทำให้ขาดความต่อเนื่อง
จึงจำเป็นต้องใช้ Comma (,) เช่น
-
I took around here. Sombat was writing a letter, Wichit was reading, Nipon was
doing exercises.
2.
การเชื่อมด้วย Conjunctive Adverb ที่ใช้เชื่อม Simple Sentence เพื่อให้เป็น
Compound Sentence นั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.
ชนิดคำที่มีลักษณะเป็นการเติมเข้ามาเพื่อเน้นให้ผู้อ่านผู้ฟังได้คิด
หรือเน้นให้เห็นข้อสังเกตได้ชัดเจน ได้แก่คำ ต่อไปนี้
however
moreover
furthermore consequently
nevertheless accordingly
meanwhile
therefore เช่น
- John was sick ; however,
he did go to school.
- Amnat had a bad cold ; therefore, he didn’t work.
- She was tired and thirsty ; moreover, she was cold.
- I don’t know this man ; nevertheless, I
don’t trust him.
2.
ชนิดคำที่มีความหมายเป็น
Transitional Word (คำที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง)อาจใช้เหมือนเป็น
Adverb ธรรมดา หรือ เหมือนคำ Conjunctive ธรรมดา ได้แก่คำ ต่อไปนี้
otherwise thus yet
still hence etc.
เช่น
- Do what you are told, otherwise
you’ll be punished.
- There is no rain in the country; hence
the crops are likely to die.
***เพิ่มเติม Conjunctive Adverb ที่กล่าวมา จะใช้เชื่อมควบคู่กับสันธาน (Co-ordinate conjunction) ตัวอื่นได้ เช่น
- Do what you are told, or otherwise you’ll be punished. (otherwise
ใช้เชื่อมควบคู่กับ or)
- David was sick, and thus he went to see a doctor.
3.
การเชื่อมด้วย Co-ordinate Conjunction (สันธานประสาน) ที่นำมาใช้เชื่อมประโยค Simple
Sentence เพื่อให้เป็น Compound Sentence (ประโยครวม)
นั้น แบ่งออกเป็น 4 ชนิด หรือ 4 แบบ
คือ
1.
แบบรวม (Cumulative) ได้แก่ and และคำเทียบเท่า
2.
แบบเลือก (Disjunctive) ได้แก่ or และคำเทียบเท่า
3.
แบแยก (Adversative) ได้แก่ but และคำเทียบเท่า
4.
แบบเหตุผล (Illative) ได้แก่ so และคำเทียบเท่า
1.1
แบบรวมได้แก่ and และคำที่มีความหมายคล้าย and (The
cumulative and-type) ที่นำมาใช้เชื่อมเพื่อให้เป็น Compound
Sentence ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ
and and................too as well as
and..........also and
also and...........as well
both........and not only.........but
also
เช่น
-
Mary is tired and hungry.
-
Mary is tired and hungry too.
-
Mary is both
tired and hungry.
-
Mary is not
only tired but also hungry.
1.2
แบบเลือก ได้แก่
or และคำที่มีความหมายคล้าย (The Disjunctive
Or-type) ที่นำมาใช้เชื่อมเพื่อให้เป็น Compound Sentence ได้แก่ คำต่อไปนี้
or or else
either.....or neither........nor เช่น
- He must go now, or he will miss the
plane.
- He must do this, or else he’ll be
punished.
- Either you or he has to do this.
- Neither you nor your friends have to go to school on Sunday.
*** นอกจากนี้แล้วในกลุ่ม or –
type ยังมี Conjunctive Adverb คือ otherwise ที่นำมาใช้ได้ เช่น
- Do so I told you ; otherwise you’ll
be punished.
1.3
แบบแยกได้แก่ but และคำที่มีความหมายคล้าย but (The
Adversative But Type) ที่นำมาใช้เชื่อมเพื่อให้เป็น Compound
Sentence นั้นได้แก่คำต่อไปนี้ คือ
but
while
whereas
yet still เช่น
- Sombat didn’t work hard, but he
passed his examination.
- She is very beautiful, while all her
sisters are ugly.
- Wise men love truth, whereas fools
shun it.
- Robert worked well, yet he failed.
***ในกลุ่มหรือแบบ But-type นี้
จะนำเอา Conjunctive Adverb (บางตัว) มาใช้ร่วมด้วยก็ได้
ได้แก่คำต่อไปนี้
however = The
sun is shining ; however, I’m sure it’ll rain.
nevertheless = There was no news ; nevertheless,
she went on hoping.
on the other hand = This shirt is cheap ; on the other hand,
its quality is poor.
for all that = Sak says he’s right ; for all that,
I’m sure he’s wrong.
1.4
แบบเชื่อมความซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน
ได้แก่ so และคำที่มีความหมายคล้าย so (The
Illative So-type) ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ
so
for
therefore
consequently accordingly เช่น
so :
It’s time to go, so let’s start our journey.
for : I
went in, for the door was open.
therefore : He
was found guilty ; therefore, he was imprisoned.
consequently :
Chat was sick ; consequently, he didn’t go to
school.
accordingly :
John won the lottery ; accordingly, he bought a
new bicycle.
Complex Sentence (สังกรประโยค) หรือ ประโยคที่มีเนื้อความซ้อน หมายถึง
ประโยคใหญ่ที่ประกอบขึ้นมาจากประโยคเล็ก 2 ประโยค ซึ่งใน 2 ประโยคนี้มีความสำคัญไม่เท่ากันนั่น
คือ ประโยคหนึ่งเรียกว่า Main Clause หรือ Principle
Clause (ประโยคหลัก) ส่วนอีกประโยคหนึ่ง เรียกว่า Subordinate
Clause (ประโยคอาศัย) ซึ่งเป็นประโยคที่ต้องอาศัย ประโยคหลัก (Main
Clause) ก่อนแล้วจึงจะได้เนื้อความและความหมายที่สมบูรณ์
คำต่อไปนี้ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างประโยค Main Clause (ประโยคหลัก) และ Subordinate Clause (ประโยคอาศัย) คือ
1.
ใช้คำเชื่อมหรือคำเชื่อมแฝง
(Subordinate Conjunction) ได้แก่
if as if since because that whether lest as
before after white till until though although unless so that than provided in order that provided that notwithstanding etc. เช่น
-
He is unhappy because he is very poor.
-
She said that
she would come back soon.
-
Danai works as if he were a manchine.
2.
ใช้ประพันธ์สรรพนาม
(Relative Pronoun) เป็นคำเชื่อมได้ ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ
who whom whose which that as but
what of which where เช่น
-
He is the first man who has won this kind of prize.
-
She made the same mistakes as her sister did.
-
The man who
came here this morning is my uncle.
3.
ใช้สัมพันธ์วิเศษณ์
(Relative Adverb) เป็นคำเชื่อมได้ ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ
when
whenever where why wherever how เช่น
-
I don’t know when she arrives here.
-
He will go wherever
she lives.
-
Do you know how
she did it.
Complex Sentence ต้องมีประโยคหลัก
1 ประโยค และมีประโยครองอย่างน้อย 1 ประโยค
ซึ่งประโยครองสามารถเป็น
1)
Noun Clause
2)
Adjective Clause
3)
Adverb Clause
***ในที่นี้ ดิฉันต้องการจะศึกษา Adjective Clause เพราะเป็นเรื่องที่ดิฉันยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้ที่ถูกต้อง ดิฉันยังมีความสับสนเกี่ยวกับเรื่อง Adjective Clause อยู่
จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
Adjective
Clause หรือ Relative
Clause แปลว่า “คุณานุประโยค” หมายความว่า ประโยคนั้นทั้งประโยคไปทำ หน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนาม
หรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกันกับ Adjective โดยทั่วไป
แต่การขยายด้วย Adjective Clause จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่น
และเด่นชัดขึ้นกว่าการขยายด้วย Adjective โดยทั่วไป ซึ่ง Adjective
Clause หรือ Relative Clause
จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. Defining Relative Clause (นิยมสัมพันธานุประโยค) ได้แก่ ประโยคที่ทำหน้าที่คล้าย Adjective (คุณศัพท์) เพื่อไปขยายนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้นว่า เป็นคนไหน สิ่งไหน อะไร ของใคร เป็นต้น หากไม่มีประโยค defining relative clause มาขยายแล้ว คำนามหรือคำสรรพนามที่กล่าวถึงนั้นก็จะไม่เจาะจง จะเป็นการกล่าวลอยๆ ซึ่งเป็นการยากที่ผู้ฟังจะเข้าใจกระจ่างได้ เช่น
1. Defining Relative Clause (นิยมสัมพันธานุประโยค) ได้แก่ ประโยคที่ทำหน้าที่คล้าย Adjective (คุณศัพท์) เพื่อไปขยายนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้นว่า เป็นคนไหน สิ่งไหน อะไร ของใคร เป็นต้น หากไม่มีประโยค defining relative clause มาขยายแล้ว คำนามหรือคำสรรพนามที่กล่าวถึงนั้นก็จะไม่เจาะจง จะเป็นการกล่าวลอยๆ ซึ่งเป็นการยากที่ผู้ฟังจะเข้าใจกระจ่างได้ เช่น
- The thief who plundered the bank yesterday was arrested.
- The book which
I borrowed from the library three days ago was a novel.
***จากตัวอย่างที่กล่าวมา defining relative clause สามารถสรุปได้ดังนี้
- defining relative clause ทำหน้าที่คล้ายคำ Adjective เพื่อไปขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า
ให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้นว่าหมายถึงใคร อะไร
- ไม่มีเครื่องหมาย
comma (,) อยู่ระหว่าง noun
กับ defining relative clause
- ใช้คำ
Relative Pronoun ที่ขึ้นต้นประโยค defining
relative clause ให้เหมาะสมกับนามและหน้าที่ (Function)
2. Non-defining Relative Clause (อนิยมสัมพันธานุประโยค) ได้แก่ ประโยคที่ทำหน้าที่คล้าย Adjective แต่เป็นเพียงการเสริมความให้ละเอียดมากขึ้นจากสิ่งที่ทราบอยู่ดีแล้วเท่านั้น แม้จะมีการตัดข้อความที่เพิ่มนี้ทิ้งไปก็จะไม่ทำให้ประโยคนั้น ขาดความหมายไปหรือไม่มีความหมาย และเพื่อจะแยกว่า ข้อความที่เพิ่มเข้ามานั้นเป็น Non-defining Relative Clause จึงต้องใส่เครื่องหมาย comma คั่นข้างหน้าและข้างหลัง clause นั้นไว้เสมอ เช่น
2. Non-defining Relative Clause (อนิยมสัมพันธานุประโยค) ได้แก่ ประโยคที่ทำหน้าที่คล้าย Adjective แต่เป็นเพียงการเสริมความให้ละเอียดมากขึ้นจากสิ่งที่ทราบอยู่ดีแล้วเท่านั้น แม้จะมีการตัดข้อความที่เพิ่มนี้ทิ้งไปก็จะไม่ทำให้ประโยคนั้น ขาดความหมายไปหรือไม่มีความหมาย และเพื่อจะแยกว่า ข้อความที่เพิ่มเข้ามานั้นเป็น Non-defining Relative Clause จึงต้องใส่เครื่องหมาย comma คั่นข้างหน้าและข้างหลัง clause นั้นไว้เสมอ เช่น
- James Smith, who lives next door, is
coming to see me.
- Our teacher of English, who returned abroad, is getting married soon.
***จากตัวอย่างที่กล่าวมา non-defining relative clause สามารถสรุปได้ดังนี้
- non-defining relative
clause ไม่มีความจำเป็นแก่ใจความในประโยค เพียงแต่เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อให้ความละเอียดขึ้นจากสิ่งที่ทราบอยู่แล้วเท่านั้น
- ต้องมีเครื่องหมาย
comma คั่นหน้าและหลังของ clause นั้นเสมอ
- ต้องใช้
Relative Pronoun ซึ่งไม่มีลักษณะชี้เฉพาะเจาะจง
เช่น who, whom, หรือ which เป็นต้น
จะใช้ that ไม่ได้ และต้องให้สอดคล้องกับหน้าที่ (Function) ของมันด้วย
ตารางแสดงการใช้ Relative Pronoun ใน Relative Clause
1) เมื่อใช้เป็นประธาน (Subject)
1.1 ใช้กับคน (Persons) นิยมใช้ who (= ผู้ซึ่ง) มากกว่า that
เช่น We like the
woman who teaches us German. มาจากประโยค 2
ประโยคคือ
= We like the
woman. The woman teaches us German.
จะเห็นได้ว่า who แทน the
woman จึงเป็น subject ของ verb
“teaches”
** ให้สังเกตว่า relative clause จะอยู่ชิดกับตัวที่มันขยายเสมอ
1.2 ใช้กับสัตว์ สิ่งของ (animals or things) นิยมใช้ that
(= อันซึ่ง) มากกว่า which
เช่น The car that is
going past now belongs to me.
เมื่อแยกประโยคจะได้
= The car belongs to
me. และ The car is going past now.
จะเห็นได้ว่า that แทน the
car และเป็น subject ของ verb “is”
ตัวอย่าง = We went to the
shop that sells ready-made clothes.
=
I’ve just had some soup that tasted like water.
=
Books that are written for students are called textbooks.
2) เมื่อใช้เป็นกรรม (Object of the verb)
2.1 ใช้กับคน (Persons) ใช้ whom (= ผู้ซึ่ง)
เช่น The lady (that or whom) you met last week came
here yesterday.
เมื่อแยกเป็นสองประโยคจะได้ 2
ประโยคคือ
= The lady came
here yesterday. You met the lady last
week.
จะเห็นว่า the lady เป็น object ของ verb “met”
The man (that or
whom) you spoke to last night is my boyfriend.
เมื่อแยกประโยคจะได้ จะได้ 2
ประโยคคือ
= The man is my
boyfriend. และ You spoke to the man last night.
จะเห็นได้ว่า the man เป็น object
ของ verb “spoke to”
2.2
ใช้กับสัตว์หรือสิ่งของ
(animals or things) นิยมใช้ that มากกว่า
which
เช่น The composition
(that) you wrote yesterday was good.
เมื่อแยกประโยคจะได้
= The composition was good. และ You wrote the
composition yesterday.
จะเห็นได้ว่า the composition เป็น object
ของ verb “wrote”
** สำหรับ relative pronoun ที่ใช้เป็น object ของ verb เรานิยมตัด
relative pronoun ทิ้งและตัดกรรมในประโยคเดิมทิ้งด้วย เช่น
– The teacher I love is ill today.
(subject + verb ละ relative pronoun ไว้)
– The friend
he met at school went abroad.
– The house we
have just bought cost a million baht.
3) ใช้เป็นกรรมของบุรพบท (Object of
preposition) เรานิยมละ relative pronoun ที่ทำหน้าที่เป็น
object ของ preposition เช่นเดียวกับในข้อสอง
โดยใช้รูปประโยค subject + verb + preposition
ทั้งกับคนและสิ่งของ เช่น
3.1 ใช้กับคน (Persons)
เช่น The woman the book was written by is in
hospital now.
เมื่อแยกเป็น 2 ประโยค จะได้
= The woman is in hospital now. และ The book
was written by the woman.
** the woman เป็น object ของ preposition “by”
3.2 ใช้กับสัตว์ สิ่งของ (animals
or things)
เช่น He bridge they
went over a few minutes ago was built in 1970.
เมื่อแยกเป็น 2 ประโยคจะได้
= The bridge was built in 1970. และ
They went over the bridge a few minutes ago.
4. ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive)
4.1 เมื่อใช้กับคน (Persons)
เช่น The boy is my cousin. The boy’s hat hangs
here.
= The boy whose hat hangs here is my cousin.
This is the man. I am going to marry his
daughter.
= This is the man whose daughter I am going to
marry.
** ให้สังเกตว่า Whose ใน
relative clause ข้างบนนี้
บางครั้งทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคบางครั้งทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
และไม่ว่าจะเป็นประธานหรือกรรม ให้วางไว้ชิด noun ที่มันขยายเสมอ
= whose
+ noun + (subject) + verb
4.2 เมื่อใช้กับสัตว์และสิ่งของ ใช้ได้ 2 แบบ คือ
4.2.1 ใช้ of which
เช่น Pass me the book. Its cover is red.
= Pass me
the book of which the cover is red.
ใช้ ……of which + subject + verb ……..
4.2.2 ใช้ with + noun ซึ่งนิยมมากกว่าใช้ of which เช่น Pass me the
book. Its cover is red.
= Pass me
the book with the red cover.
Please buy me a cat. Its tail is
long.
= Please
buy me a cat with a long tail.
ใช้ …….with
+ (article) + adjective + noun ……..
รูปประโยคข้างบนนี้ ใช้กับ คนได้ เช่น
– The girl with long hair is my sister.
ในทำนองเดียวกัน เราใช้ whose กับ สัตว์ สิ่งของ ได้ เช่น
– The box whose lid you painted cost 20 dollars.
– The dog whose tail is short is very fierce.
***เพิ่มเติม การใช้ that ในประโยค Adjective Clause
ที่ไม่นิยมใช้ who และ which “that” ซึ่งเป็น Relative
Pronoun จะนำมาใช้ขึ้นต้นประโยค Adjective Clause ได้ก็ต่อเมื่อ หน้าคำนามที่เป็น Antecedent ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.
มีคุณศัพท์ขั้นสูงสุด
(Superlative Degree) ประกอบอยู่ข้างหน้า เช่น
-
He is the most
patient man that I have ever seen.
-
She is the best
student that I have ever seen.
2.
มีเลขนับลำดับที่
(Ordinal Number) ประกอบอยู่ข้างหน้า เช่น
-
Mr.Brown is the
second man that we have
to go to see.
-
She is the third
wife that he married to.
3.
มีคุณสมบัติบอกปริมาณ
(Quantitative Adjective) ประกอบอยู่ข้างหน้า เช่น
-
I have few books that I can share her.
-
He has many plans that he offers to us.
4.
เมื่อหน้า that นั้นเป็นสรรพนามผสม (Compound Pronoun) ต่อไปนี้ คือ
everybody ,
everyone , anyone , anybody , someone , nobody , no , one , all , none , any ,
some , little , much , few , everything , anything , nothing , only , very ,
It’s … เช่น
-
There is nothing that I can do for you.
-
Is there anything that can be used to open this can?
สิ่งที่ควรรู้ สำหรับการศึกษา Adjective Clause คือ การลดรูป
Adjective
Clause
การลดรูป Adjective Clause
คำนำหน้า “who”, “which” และ
“that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม
ดังนี้
1. Appositive Noun Phrase
2. Prepositional Phrase
3. Infinitive Phrase
4. Participial Phrase
1. Appositive Noun Phrase
2. Prepositional Phrase
3. Infinitive Phrase
4. Participial Phrase
Appositive
Noun Phrase adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มี
BE และให้ตัด BE ออกด้วย
เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนาม ที่เรียกว่า appositive ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
|
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun
phrase
|
Prof.
Chakarin, who is my thesis adviser , will retire
next year.
|
Prof.
Chakarin, who is my thesis adviser , will retire
next year.
Prof.
Chakarin, my thesis adviser , will retire next year.
|
His
novel, which is entitled Behind the Picture , is
very popular.
|
His
novel, which is entitled Behind the Picture , is
very popular.
His
novel, Behind the Picture , is very popular.
|
Prepositional
Phrase
adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิม ให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิม ให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
|
วิธีการลดรูปเป็น prepositional phrase
|
The
lady who is dressed in the national costume is a
beauty queen.
|
The
lady who is dressed in the national costume is a beauty
queen.
The
lady in the national costume is a beauty queen.
ในที่นี้
dressed
in the national costume มีความหมายเหมือน in the national
costume
|
The
football player who came from Brazil received a warm
welcome from his fans in Thailand.
|
The
football player who came from Brazil received a warm
welcome from his fans in Thailand.
The
football player from Brazil received a warm welcome
from his fans in Thailand.
ในที่นี้
came
from Brazil มีความหมายเหมือน from Brazil
|
Infinitive
Phrase
adjective clause ที่มี who, which และ that
สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + infinitive
with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive
phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
|
วิธีการลดรูปเป็น infinitive
phrase
|
He
is the first person who is to be blamed for the violence
yesterday .
|
He
is the first person who is to be blamed for the violence
yesterday .
He
is the first person to be blamed for the violence yesterday.
|
The
researcher did not provide the specific statistics that can be
used to test the hypothesis.
|
The
researcher did not provide the specific statistics that can
be used to test the hypothesis.
The
researcher did not provide the specific statistics used to
test the hypothesis .
The
researcher did not provide the specific statistics to test the
hypothesis .
|
Participial
Phrase
1) Present Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
1) Present Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
ประโยคที่ใช้ adjective clause
|
วิธีการลดรูปเป็น present
participial phrase
|
The
school students who visited the national museum were
very excited.
|
The
school students who visited the national museum were
very excited.
The
school students visiting the national museum were very
excited.
|
The
two robbers who had escaped to Cambodia were arrested a
week ago.
|
The
two robbers who had escaped to Cambodia were arrested
a week ago.
The
two robbers having escaped to Cambodia were arrested a
week ago.
|
The
earthquake victims who had been saved by the rescue team were
sent to hospital immediately.
|
The
earthquake victims who had been saved by the rescue
team were sent to hospital immediately.
The
earthquake victims having been saved by the rescue team were
sent to hospital immediately.
|
2) Past Participial Phrase adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน
สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive
form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออกเหลือแต่ past participle ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
|
วิธีการลดรูปเป็น past participial
phrase
|
The
money which was lost during the trip was
returned to its owner.
|
The
money which was lost during the trip was returned
to its owner.
The
money lost during the trip was returned to its owner.
|
His
father, who was sent by his company to New Zealand , developed
lung cancer.
|
His
father , who was sent by his company to New Zealand ,
developed lung cancer.
His
father, sent by his company to New Zealand, developed lung
cancer.
|
อย่างไรก็ตาม ทั้ง present participial phrase และ past participial phrase สามารถ ขยายนามโดยนำมาวางไว้หน้าคำนามได้
ดังนี้
Thailand is a country which exports rice .
Thailand is a rice-exporting country.
Passengers have to wait for trains which come late.
Passengers have to wait for late-coming trains
Thailand is a country which exports rice .
Thailand is a rice-exporting country.
Passengers have to wait for trains which come late.
Passengers have to wait for late-coming trains
Compound Complex Sentence แปลว่า “อเนกัตถสังกรประโยค” หมายถึง ประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่
โดยที่ประโยคใหญ่ประโยคอันหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กแทรกซ้อนอยู่ภายในด้วย
ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า Compound Complex Sentence
ตัวอย่างเช่น
-
I saw no one in the house which you had told me about, so I didn’t go in.
(ประโยคที่ยกมากล่าวให้ดูนี้มีประโยคใหญ่อยู่ 2 ประโยค คือ ประโยคแรกได้แก่ I saw no one in
the house which you had told me about และประโยคที่ 2 ได้แก่ so I didn’t go in ประโยคใหญ่ท่อนแรก
มีประโยคเล็กแทรกซ้อนอยู่ภายใน คือ which you had told me about )
-
I couldn’t remember what his name is, but I will ask him.
-
Although thought
to be indestructible, the Twin Towers fell on Sept. 11, 2001, and that
forever changed the NYC skyline.
-
The Twin Towers were destroyed by
terrorists, who thought they could tear the US apart,
but instead, this tragedy brought the US people together.
การเรียนรู้
การทำความเข้าใจ การฝึกทำแบบฝึกหัด รวมทั้งการฝึกสร้างประโยค Compound Sentences (อเนกัตถประโยค) คือ ประโยคความรวม
Complex Sentences (สังกรประโยค) คือ ประโยคความซ้อน และ Compound
Complex Sentences (อเนกัตถสังกรประโยค) คือ ประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2
ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่
โดยที่ประโยคใหญ่ประโยคอันหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กแทรกซ้อนอยู่ภายในด้วย เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้
ดิฉันก็เช่นกัน เมื่อได้ศึกษาเรื่องการสร้างประโยคในประเภทต่างๆแล้ว
ดิฉันก็มีความเข้าใจในหลักการและเนื้อหาเหล่านี้มากขึ้น สามารถบอกได้ว่า Compound
Sentences (อเนกัตถประโยค) Complex Sentences (สังกรประโยค
และ Compound Complex Sentences (อเนกัตถสังกรประโยค)
มีลักษณะเป็นอย่างไร และมีหลักการในการสร้างประโยคอย่างไรบ้าง รวมทั้งหากจำเป็นต้องแปลประโยคเหล่านั้นก็สามารถแปลได้ว่าเป็นประโยคประเภทไหน
และมีความหมายอย่างไรบ้าง อีกทั้งยังได้ความรู้เพิ่มเติม เรื่อง Adjective
Clause ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกันในการสร้างประโยคแบบ
Complex Sentences ดิฉันคิดว่างานเขียนที่ดี มีเนื้อหาที่ถูกต้อง และมีความหลากหลายของเนื้อหา
เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ คือ การใช้ประโยคที่ถูกและมีความหลากหลาย
ไม่ใช่มีเพียงแต่ชนิดใดชนิดหนึ่ง เพราะจะทำให้งานเขียนของเราไม่มีความน่าสนใจ คือ
ใช้ประโยคแบบเดิมๆซ้ำๆ ไม่มีความหลากหลาย รวมทั้งการที่จะสร้างประโยคที่ดีและถูกต้องได้นั้น
ก็ต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักไวยากรณ์ เป็นตัวช่วยด้วย เพราะหากผู้เรียนรู้แล้วว่าประโยคมีกี่ประเภท
และแต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร รวมทั้งมีความเข้าใจในเรื่องของหลักไวยากรณ์
เรื่องของ Tense ซึ่งเป็นตัวบอกเวลาในประโยคนั้นๆ เป็นอย่างดีแล้ว
ผู้เรียนก็จะสามารถสร้างงานเขียน รวมทั้งสามารถแปลความหมายของประโยค
หรืองานเขียนต่างๆได้เป็นอย่างดี และมีความสละสลวย
Fortuna casino review - Xn - Online casinos in 2020
ตอบลบFind out how to play, read, and download Fortuna casino starvegad review - a real gambling site, with reviews from top rb88 real players, and find new bonuses at top 메리트 카지노 주소