วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log Third : (18th August, 2015)

Learning log
Third : (18th August, 2015)
            การศึกษาภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในปัจจุบัน เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของสากลที่ทุกคนส่วนใหญ่ใช้ร่วมกัน สื่อสารกันเข้าใจที่สุด การศึกษาภาษาอังกฤษให้เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ทั้งทางด้าน เนื้อหา คือในส่วนของคำศัพท์ต่างๆ และ หลักไวยากรณ์ ต่างๆ รวมทั้งจะต้องฝึกฝนเกี่ยวกับ ทักษะ ซึ่งมีความสำคัญมากเช่นกัน คือ ทักษะการฟัง, ทักษะการพูด, ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ทักษะเหล่านี้ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและมีความต่อเนื่อง เพราะเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนด้วยตนเองจึงจะเกิดผลดีมากที่สุด ซึ่งสำหรับคนไทยแล้วจะคิดว่า การศึกษาในด้านของไวยากรณ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษก็เป็นได้ เพราะถ้าหากผู้เรียนรู้หลักไวยากรณ์อย่างครอบคลุมและแม่นยำแล้ว ผู้เรียนก็สามารถเขียนรูปประโยค หรือข้อความต่างๆ รวมทั้งแปลความหมายของข้อความเหล่านั้นเป็นภาษาต่างๆที่เราต้องการได้อย่างถูกต้องและสละสลวย ยิ่งไปกว่านั้นการรู้คำศัพท์และหลักไวยากรณ์มาก จะทำให้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของผู้เรียนดีและคล่องแคล่วขึ้น จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นด้วย

                ในการเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าหากผู้เรียนต้องการสร้างงานเขียนที่ดีและสละสลวย ผู้เรียนจะต้องเชี่ยวชาญ และแม่นยำในเรื่องของ Tense ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้างงานเขียนที่ดี รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการแปลความหมายของประโยคและข้อความต่างๆ ด้วย ดังนั้นการที่จะเรียนรู้เรื้อง Tense ก็จะต้องรู้ความหมายของ Tense ก่อน

Tense คือ รูปของกริยาต่างๆ ที่แสดงอาการหรือการกระทำของกริยาในแต่ละประโยค ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นทั้งปัจจุบัน (present), อดีต (past) และอนาคต (future) เพื่อบอกให้ทราบว่าประโยคหรือสิ่งที่พูดนั้น เกิดขึ้นเวลาไหน

โครงสร้างของ Tense 12 Tense

Tense
Structure
Present
Simple Tense
S + V1 [ s , es ]

Continuous Tense
S + is , am , are + V.ing

Perfect Tense
S + has , have + V3                                          

Perfect Continuous Tense
S + has , have + been + V.ing
Past
Simple Tense
S + V2

Continuous Tense
S + was , were + V.ing

Perfect Tense
S + had + V3

Perfect Continuous Tense
S + had been + V.ing
Future
Simple Tense
S + will , shall + V1

Continuous Tense
S + will , shall + be + V.ing

Perfect Tense
S + will , shall + have + V3

Perfect Continuous Tense
S + will , shall + have been + V.ing

Present Simple Tense (ปัจจุบันกาล) คือ tense ที่พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ระบุว่าการกระทำนั้นๆ สมบูรณ์แล้วหรือยัง โดยมีโครงสร้าง ดังนี้ 

Structure :   Subject (ประธาน) + Verb 1 (กริยาช่องที่ 1)

Subject คือ ประธานของประโยค โดยประธานอาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น เป็น คำนาม (noun) เป็นคำสรรพนาม (pronoun) หรือประธานชนิดอื่นๆ โดยประธานจะมี 2 ชนิด คือประธานเอกพจน์และประธานพหูพจน์ และ verb mใช้จะเป็น verb  1 **ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาช่องที่ 1 จะต้องเติม s หรือ es ตามหลักการ ดังนี้

หลักการเติม –s , และ -es
(เติมเฉพาะกริยาของประธานเอกพจน์ present simple tense)
  1). คำกริยาปกติอื่นๆ เติม s ได้ทันที เช่น
             -      He wants to go to the beach.
             -      The dog eats bone.
  2).เติม es ที่คำกริยาที่ลงท้ายด้วย s,ss,ch,x หรือ o เช่น
             -    Dang goes to the post office.
             -    He catches the train to Ayuttaya.
             -    The bus no.13 passes Lumpini Park.
  3). คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
             -    She studies in the United States of America.
             -    The baby cries at midnight.
 ***ยกเว้น คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y ซึ่งหน้า y มีสระ (a,e,i,o,u) ให้เติม s ได้เลย เช่น
-        The boy plays the guitar well.
              -    My mother buys many things in that store.
    4). กริยาที่ลงท้ายด้วย –o และหน้า –o เป็นพยัญชนะให้เติม –es เช่น
               -      She goes to visit her friend in the hospital everyday.
   ***ยกเว้นถ้าหน้า –o เป็นสระ (a,e,i,o,u) ให้เติม –s ที่ท้ายกริยา เช่น
    -            He always woos the daughter of the king.

หลักการใช้ Present Simple Tense

1). ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไป หรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ (General Truth หรือ Eternal Truth) เช่น
                 -     The sun rises in the east.              
                 -      It'cold in winter.                          
-           Fish swim in the water.          
2). ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นประเพณี นิสัย สุภาษิต ซึ่งไม่ได้เจาะจงว่าเวลาใด เช่น

                 -      Men wear thin clothes in summer.   
                 -      Women are dressed all in black when going to the funeral.
3). ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงในขณะพูด เช่น
                 -       He stands under the tree.                               
                 -      Susan is my close friend.       
4).  ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น (นิยมใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) โดยใส่คำวิเศษณ์ที่บอกเวลาเป็นอนาคตด้วยก็ได้ เช่น
                  -       I have by the 6.20 train this evening.
                  -       We attack the enemies at dawn.
5). ใช้กับเหตุการณ์ในประโยค subordinate clause ที่ขึ้นต้นด้วย If, When, whenever, unless, until, till , as soon as, while, before, after, as long as ซึ่งบ่งบอกเวลาเป็นอนาคต เช่น
                  -        If the weather is fine tomorrow, we shall have picnics.
                  -        Unless he sends the money before Friday, I shall consult my lawyer.
6). ใช้กับเหตุการณ์ในกรณีสรุปเรื่องที่เล่ามา แม้เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นแล้วในอดีต เพื่อให้เรื่องมีชีวิตชีวา เหมือนเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน นิยมใช้ในการเขียนนิยาย บทละคร เช่น
       -        Bassanio wants to go to Belmont to woo Portia. He asks Antonio to lend him money. Antonio says that he hasn’t any at the moment until his ships come to port.
7). การกระทำของกริยาที่ไม่สามารถแสดงอาการให้เห็นได้ เช่น การนึกคิด การรับรู้ ภาวะจิตใจ ความเป็นเจ้าของ เช่น
                    -      She loves her husband very much.
                    -       He knows about how to open the can.
8). ใช้กับเหตุการณ์ที่บุคคลหรือสัตว์ทำเป็นประจำ Repeated Action หรือเป็นนิสัยเคยชิน Habitual Action and States การใช้ในกรณีเช่นนี้ มักจะมีคำหรือกลุ่มคำหรืออนุประโยค ซึ่งมีความหมายว่า บ่อยๆ, เสมอๆ, ทุกๆ...รวมอยู่ด้วย

                   คำ (word) เช่น always, often, sometimes, frequently, usually, etc.
                   กลุ่มคำ (phrase) เช่น every day, every week, once a week, etc.
                   ประโยค (clause) เช่น  -  whenever he sees me
                                -  every time he comes hereetc.
เช่น             -      He says hello to me whenever he see me.
   -          She usually relaxes after game.


Present Continuous Tense เป็น tense ที่ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด โดนมีโครงสร้างประโยค ดังนี้

                                      Structure :  Subject + is, am, are + Verb 1 เติม ing


การเติม – ing ที่ท้ายกริยามีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1)            กริยาที่ลงท้ายด้วย e กรณีไม่ออกเสียงตัว e ให้ตัด e ทิ้งเสียก่อน แล้วจึงเติม – ing
เช่น                    write         -        writing            move      -    moving
2)            กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y ก่อน แล้วจึงเติม –ing
เช่น                    die           -         dying                lie         -       lying
3)            กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม –ing ได้เลย
เช่น                    see           -         seeing          agree       -      agreeing
4)            กริยาที่มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว และเป็นพยางค์เดียว ให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีก 1 ตัว แล้วจึงเติม   –ing     
เช่น                    stop          -         stopping            run      -        running
                           sit            -          sitting               get      -        getting
5)            คำที่มี 2 พยางค์ ซึ่งออกเสียงหนัก stress ที่พยางค์หลัง และพยางค์หลังมีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีก  1 ตัว ก่อนแล้วจึงเติม – ing
เช่น                    begin          -         beginning               occur    -     occurring
                           refer          -          referring                 offer     -     offering
6)            คำกริยา 2 พยางค์ ต่อไปนี้ จะเพิ่มตัวสะกดเข้ามาแล้วจึงเติม – ing หรือจะเติมเลย
เช่น       อังกฤษ  : travel        -          travelling                                quarrel      -      quarreling
             อเมริกัน : travel        -          traveling                                  quarrel      -      quarreling


หลักการใช้ Present Continuous Tense

1)                ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูดและมักจะมีคำวิเศษณ์ (Adverb) now, at the present, at this  moment, at the present time, these days มาร่วมเสมอ
เช่น   -     He is coming to the office now.
 -                   I am working with this company these days.
2)                ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งในขณะที่พูดประโยคนี้ออกไปนั้น ไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งนั้นอยู่ก็ได้ แต่ในช่วงเวลาอันยาวจะทำสิ่งนั้นอยู่จริงๆ และมักมีคำบอกเวลาระยะยาวมากำกับไว้ ได้แก่ this week, this month, this year, etc.
เช่น    -     My son is working hard this term.
  -                   He is working with the Siam Motors Co.,Ltd. This year.
3)                ใช้ กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคาดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่ มักใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่, เคลื่อนไหว และจะมีคำบอกเวลาเป็นอนาคตมาก่อนเสมอ
เช่น    -     Somdet is leaving for London next Sunday.
  -                   I am going to Singapore on Friday.
4)                ถ้าประโยค Present Continuous Tense เชื่อมด้วย **and  (กรณีเป็น 2 ประโยค) **ให้ตัดกริยา Verb to be ที่อยู่หลัง and ออก
เช่น     -    The old man is smoking a cigarette and reading the newspaper.

กริยาที่นำมาแต่งเป็น Continuous Tense ไม่ได้ คือ

1)                กริยาที่แสดงการรับรู้ (Verb of Perception) จะไม่นิยมนำมาแต่งใน Present Continuous Tense ได้แก่
  -                      see          hear           feel          taste        smell         etc.
2)                กริยาที่แสดงภาวะของจิต (State of Mind) แสดงความรู้สึก (felling), แสดงความผูกพัน (Relationship)
  -                     know         love         understand     hate       believe         seem         like       etc.


              Present Perfect Tense

                                                Structure   :    Subject  +  have,has  +  กริยาช่องที่ 3

ที่มาของกริยาช่องที่ 3
1)                มีรูปโดยการเติม –ed ที่ท้ายกริยา  เช่น
ช่องที่ 1                                                        ช่องที่ 2                                                            ช่องที่ 3
        open                                                             opened                                                             opened
        walk                                                              walked                                                            walked

2)                มีรูปมาโดยการผันรูป  เช่น
ช่องที่ 1                                               ช่องที่ 2                                                     ช่องที่ 3
        is, am, are                                            was, were                                                   been
        see                                                        saw                                                            seen
        go                                                         went                                                           gone
        think                                                      thought                                                      thought       etc.

หลักการใช้  Present Perfect Tense     มีดังนี้

1)                ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และเหตุการณ์นั้นยังคงต่อเนื่องมาถึงเวลาปัจจุบัน ซึ่งมักจะมี Adverb เหล่านี้ คือ since, for, so far, up to now มาร่วมแสดงเวลาเสมอ
เช่น           -    Bill has lived in New York since 1975.
 -       I have studied English for more than three years. 
2)                ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้ทำซ้ำๆ เป็นหลายครั้งหลายหนในอดีต และเหตุการณ์ที่ว่านี้อาจจะทำอีกต่อไปในอนาคต แต่ไม่บอกว่า ทำเมื่อไร เป็นเวลาเท่าไหร่ มักจะมีคำ Adverb  เช่น many time, several time, over and over มากำกับเสมอ เช่น
 -        We have eaten in that restaurant many times.
 -          I have used this razor blade only three times; it is still good.
3)                ใช้กับเหตุการณ์ที่เคยหรือไม่เคยทำในอดีต ซึ่งมิได้บ่งบอกเวลาที่แน่นอนเอาไว้ และมักมีคำ Adverb คือ ever, never, once. twice  มาใช้ร่วมเสมอ เช่น
 -           I have never seen him before.
  -           Have you ever been abroad? No, never.
4)                ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดขึ้นหรือกระทำไปแล้ว แต่ผลของการกระทำนั้นยังประทับใจผู้พูดอยู่ ใช้ Present Perfect Tense   ได้ เช่น
 -            He has opened the window.
 -            The train has arrived at the station.
5)                ใช้กับเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเสร็จสิ้นจบลงไปใหม่ๆ โดยเวลาไม่นาน ซึ่งจะมี Adverb ต่อไปนี้มาร่วมเสมอ ได้แก่ already, just, yet, finally, eventually, recently เช่น
  -          The principal has just gone out.
  -           I have already closed the window.

การใช้ yet, just และ already

·                        yet : ใช้ในประโยคปฏิเสธ และนิยมวางไว้ท้ายประโยค
·                        just, already : ใช้ในประโยคบอกเล่า และจะวางไว้หน้ากริยาหลักเสมอ เช่น
-                   He has not died yet.
-                   He has just finished his work.
-                   I have already read this book.
***หมายเหตุ - ใช้ already เมื่อผู้ถามหวังได้ คำตอบรับ (Yes)
-    ใช้ yet เมื่อผู้ถามหวังจะได้  คำตอบปฏิเสธ (No)

Present Perfect Continuous Tense

                             Structure :  Subject + have, has + been + Verb 1 เติม –ing


หลักการใช้  Present Perfect Continuous Tense  มีดังนี้

1)                ใช้ Present Perfect Continuous Tense  กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในบางช่วงเวลาในอดีตและยังดำเนินไปอยู่ในขณะที่พูดนั้น เช่น
-                   We have been writing letters to our friends in the U.S.A since 8 o’clock this morning.
-                   How long have you been working with him.
2)                ใช้ Present Perfect Continuous Tense  เพื่อเน้นระยะเวลาของเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปและใช้กับการกระทำที่เพิ่งจะจบลง เมื่อสักครู่นี้ เช่น
-                   My boyfriend has been playing.
-                   Have you been writing?
3)                ใช้ Present Perfect Continuous Tense กับ how long, for... และ since... ซึ่งจะบอกว่าเหตุการณ์นั้นๆ ดำเนินต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน หรือเหตุการณ์นั้นๆเพิ่งจะจบลง เช่น
-                   How long have you been staying in Bangkok?

  Past Simple Tense

Structure : Subject  +  Verb ช่องที่ 2


การเติม ed ที่คำกริยามีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1)                กริยาที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว ให้เติม d ได้เลย เช่น
-                   love     -     loved
-                   move   -     moved
-                   realize   -    realized         etc.
2)                กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i ก่อนแล้วจึงเติม ed เช่น
-                   cry      -     cried                                   carry    -      carried    
-                   rely     -      relied          etc.
3)                กริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระให้เติม ed ได้เลย เช่น
-                   play     -      played
-                   obey    -      obeyed
4)                กริยาที่มีเพียงพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่ม พยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัว แล้วจึงเติม ed  เช่น
 -                   hop     -     hopped
 -                   beg     -      begged         etc.
5)                กริยาที่มีเสียง 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้นมีสระตัวเดียว ลงท้ายด้วยตัวสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัว แล้วจึงเติม ed เช่น
-                   concur     -        concurred
-                   occur       -        occurred       etc.
**ยกเว้น : ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น
-                   cover      -     covered                open   -     opened      etc.
6)                นอกจากกฎที่กล่าวมาทั้ง 5 ข้อแล้ว เมื่อต้องการให้เป็นช่องที่ 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น
-                   walk       -       walked                reach     -      reached    etc.

                            หลักการใช้ Past Simple Tense   มีดังนี้

1)                ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และก็จบลงไปแล้วในอดีต ก่อนที่จะพูดประโยคนี้ออกมา ในกรณีเช่นนี้มักจะมีคำ กลุ่มคำ หรืออนุประโยค ที่แสดงความเป็นอดีตมากำกับไว้เสมอ ได้แก่
·      คำ (word) เช่น ago, once, yesterday, formerly, etc.
·      กลุ่มคำ (phrase) เช่น last night, last week (month), etc.
·      อนุประโยค (subordinate clause) เช่น  when he was young, After he had gone  etc.    เช่น
-                   Somchai went to the cinema yesterday.
-                   I lived in Songkla three years ago.
2)                ใช้กับการกระทำซึ่งกระทำเป็นประจำในอดีต แต่ปัจจุบันมิได้กระทำการณ์นั้นอีกแล้ว ในกรณีนี้จะมี Adverb บอกความถี่บ่อยๆ มาร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องมีคำบอกเวลาที่เป็นอดีตแน่นอนมากำกับไว้ เช่น
-                   She walked to school every day last week.
-                   I always got up late last year.
3)                ใช้กับการกระทำในอดีต แสดงลำดับความต่อเนื่องของเหตุการณ์
-                   I opened my bag, took out some money and gave it to my friend.
-                   He jumped out of the house, saw a policeman and run away.
4)                ใช้กับกริยาในรูปประโยคที่อยู่หลังสำนวนต่อไปนี้
·      I would rather + Past Simple Tense
·      It’s time + Past Simple Tense
·      It’s high time + Past Simple Tense
·      It’s about time + Past Simple Tense      เช่น
-                   I would rather you did your homework.
-                   It’s time the children went to bed.


Past Continuous Tense

                              
                               Structure : Subject + was, were + Verb ช่องที่ 1 เติม – ing


หลักการใช้  Past Continuous Tense มีดังนี้
1)                ใช้กับเหตุการณ์  2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต คือ มีเหตุการณ์อันหนึ่งเกิดขึ้นและกำลังดำเนินไปอยู่ก่อน และก็มีเหตุการณ์อันที่สอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันสั้นๆเกิดแทรกเข้ามา โดยมีหลักการแต่งประโยค ดังนี้
·           เหตุการณ์ใดเกิดก่อนใช้   Past Continuous Tense
·           เหตุการณ์ใดเกิดที่หลังใช้  Past Simple Tense                                                          เช่น
-        While he was walking along the street, he saw an accident.
2)                ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่าง ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ หรือกำลังดำเนินอยู่พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ในอดีต   เช่น
-           ]]My mother was cooking while I was playing.
-                   He was standing while she was sitting.
3)                ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังดำเนินอยู่ ณ เวลาจุดใดจุดหนึ่งในอดีต ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจน  เช่น
-           They were cleaning the room at eight o’clock yesterday

  Past Perfect Tense

          
                                         Structure  :  Subject  +  had  +  Verb ช่องที่ 3

หลักการใช้ Past Perfect Tense มีดังนี้

1)                ใช้กับเหตุการณ์  2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต และสิ้นสุดลงไปแล้วในอดีต โดยเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งมีหลักการแต่ง ดังนี้

·      เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนใช้ Past Perfect Tense (Subject  +  had  +  Verb ช่องที่ 3)
·      เหตุการณ์ใดเกิดที่หลังใช้ Past Simple Tense (Subject + Verb 2)

-                   We went out for a walk after we had eaten dinner.
-                   Anong had learnt English before she went to England.

1)                ใช้กับคำว่า By the time, By May, By 1980  etc. จะมีโครงสร้างประโยค ดังนี้

   By the time + Past Simple, Past Perfect Tense                 เช่น
-                   By the time the sun set, we had left the office.
1)                ใช้ Past Perfect Tense คู่กับ Past Simple Tense ในสำนวนต่อไปนี้
  ·      No sooner...... then, hardly.....when, scarcely......when

ซึ่งมีโครงสร้างประโยค ดังนี้

                            Subject + had + No sooner, hardly, scarcely + V.3   +  then, when, when   +   S. + V.2

เช่น
-                   They had no sooner finished their work then they went out.
1)                ใช้ Past Perfect Tense ใน Clause ที่ตามหลัง I wish ซึ่งเป็นประโยคแสดงความปรารถนาในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต  เช่น
-                   ความจริงที่เป็นอยู่   -  I was born in a poor family.
-                   ปรารถนาใหม่   -  I wish I had been born in a rich family.
               

             Past Perfect Continuous Tense

                                    
                                      Structure : Subject + had + been + Verb  1 เติม  -ing


หลักการใช้  Past Perfect Continuous Tense มีดังนี้

1)                ใช้  Past Perfect Continuous Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งเกิดก่อนหน้าช่วงเวลาอดีตที่กำลังพูดถึงกันอยู่ และดำเนินต่อเนื่องมาถึงช่วงเวลาหนึ่ง จึงจบลง เช่น
-                   The teacher had been working alone.
-                   How long have you been teaching English?
-                   He had been sleeping for two hours.
-                   My father had been running with me.
-                   Jira had been smoking for 5 months.
2)                Past Perfect ที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ หลายครั้ง สามารถใช้  Past Perfect Continuous Tense แทนได้  เช่น
-                   I had tried ten times to get her on the phone (past perfect)
-                   I had been trying to get her on the phone (past perfect continuous tense)

3)                  3)             เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและกำลังเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง ใช้  past perfect continuous tense

ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดหลังใช้  past simple tense เช่น
-                   I had been waiting for the train for three hours before it arrived at the station.
-                   When the police arrived, we had been sleeping for five hours.
-                   When had been walking for one hour when we saw a small birth.

Future Simple Tense

                                                     
                                                       Structure  :  Subject  +  will,shall  + Verb 1


หลักการใช้  Future Simple Tense มีดังนี้

1)                ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะที่พูดนี้เหตุการณ์หรือการกระทำนั้นยังไม่ทันเกิดขึ้น และมักจะมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่เป็นอนาคตมาร่วมเสมอ ได้แก่
soon, shortly, in a short time, in a moment, in a while, in a week’s time, in two days’ time, etc.

เช่น
-                   I shall go to the United States soon.
-                   Thomson will leave Thailand for Japan next week.

2)                ประโยคแสดงอนาคตที่มีกริยา  2 ตัว ให้ใช้ Future Simple Tense กับกริยาเพียงตัวเดียว ส่วนอีกตัวหนึ่ง (คือประโยคที่อยู่หลังคำเชื่อม) ให้ใช้ Present Simple Tense หรือ Present Perfect Tense กริยาใช้ Future Simple 
Tense คือกริยาที่อยู่หน้าคำเชื่อมและคำเชื่อมที่นำมาใช้ได้แก่
if, unless, when, until, as soon as, before, after, the moment that, by the time that, now that etc.
เช่น
-                   They will leave after they have finished their work.
-                   She will stay here until her father arrives from his office.

การใช้ (be) going to แทน wil, shall ในกรณีต่อไปนี้

1)                 1)             ใช้ (be) going to +Verb 1 เพื่อแสดงความตั้งใจแทน will, shall ได้   เช่น
-                   I am going  to write to Anong this evening.
-                   Sak is going to sell his car next month.
2)     ใช้ (be) going to +Verb 1  เพื่อแสดงการคาดคะเน แทน will, shall ได้  เช่น
                 -            I think it is going to rain.
3)     ใช้ (be) going to +Verb 1  เพื่อแสดงข้อความซึ่งเชื่อว่าเป็นจริงเช่นนั้น โดยปราศจากข้อสงสัยแทน will, shall เช่น
              -                    My wife is going to have a baby.

***เพิ่มเติม                                 ห้ามใช้  (be) going to แทน   will, shall            ในกรณีต่อไปนี้
1)                เหตุการณ์ที่เป็นอนาคตอันแท้จริง ซึ่งถ้าต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่สามารถใช้ (be) going to แทน   will, shall     ได้    เช่น
             -                       Today is the 21st : tomorrow will be the 22nd .
             2)                ห้ามใช้  (be) going to แทน   will, shall ในประโยคเงื่อนไขที่เชื่อมด้วย  if                     เช่น
             -                       I shall (will) do this for you if you give me twenty baht.
             3)                ห้ามใช้  (be) going to แทน   will, shall กับกริยาแสดงการรับรู้ Verb แสดงการรับรู้ ได้แก่ know, understand, remember, forget, live , love, etc.          เช่น
             -                       I will understand what you said.

***การใช้ (be) going to ในประโยคแสดงอดีตกาล

คือ       was,were + going to + Verb 1

             -                     We were going to play tennis yesterday, but it rained.


                                                                       การใช้   will,shall  สลับบุรุษ
·         shall   ใช้กับบุรุษที่ 1 คือ I shall......... และ We shall.....................
·         will   ใช้กับบุรุษที่ 2-3 และนามที่มาเป็นประธาน เช่น You will......., He wil..................,              She will............, It will..........., They will................., Jack will..............., etc.
***แต่ถ้าหากสลับบุรุษกันเป็น You shall, He shall, She shall, etc. นอกจากจะเป็นอนาคตแล้วยังมีความหมายว่า
1)                เป็นเชิงสัญญา (ผู้พูดเป็นผู้ให้สัญญา) เช่น
-             -                   If you work harder you shall have a holiday on Saturday.
2)                เป็นเชิงบังคับ (ผู้พูดเป็นผู้บังคับบัญชา) เช่น
              -                    You must do this or you shall be punished.
3)                เป็นเชิงแสดงความตกลงใจอย่างแน่วแน่ (ของผู้พูด) เช่น
              -                   -These people want to buy my house, but they shan’t have it.

***แต่ถ้าหาก Will ใช้กับ I และ we  เป็น
1)                เป็นการแสดงความตั้งใจจริงของผู้พูด เช่น
             -                   I will try again this year.
2)                เป็นการให้สัญญาของผู้พูด   เช่น
            -                   I won’t forget Ladda’s birthday. I will send her a present.                                                                                           

                   Future Continuous Tense


                                     Structure  :  Subject + will,shall + be + Verb 1 เติม -ing   

                                 
                                 หลักการใช้    Future Continuous Tense   มีดังนี้

1)            ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นก่อน หลัง กันในอนาคต โดยมีหลักการแต่งประโยค ดังนี้ 

               เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนใช้       Future Continuous Tense  
               ( Subject + will,shall + be + Verb 1 เติม -ing   )
               เหตุการณ์ที่ทำทีหลังหรือเกิดขึ้นทีหลังใช้  Present Simple Tense
               (Subject  +  Verb 2 )             

เช่น
-              He  will be having his breakfast when we arrive at his house tomorrow.
-              When we call on him tomorrow morning, he will be watering in the garden.
-              I will be sleeping when my mom gets home.
-              Suda will be waiting when you arrive.
2)                ใช้กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ตามเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
เช่น
             -              This time tomorrow I shall be flying to New York.
             -              She will be sleeping at seven o’clock tomorrow morning.
             -              I will be reading book at 8 o’clock tomorrow.
             -              At nine o’clock tomorrow, we will be working on farm.
3)            ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่า จะทำเช่นนี้จริงๆ
เช่น
            -              We shall be working all day tomorrow.
            -              What will you be doing tomorrow?
               -              The David will be studying with us again this year.      

            Future Perfect Tense

Structure : Subject + will, shall + have + Verb 3

หลักการใช้  Future Perfect Tense มีดังนี้

1)                ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต ซึ่งขณะที่พูดเป็นเพียงการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าถึงตอนนั้นแล้ว เหตุการณ์อันหนึ่งจะเกิดขึ้นสมบูรณ์ก่อนแล้ว จึงมีเหตุการณ์อันที่ 2 เกิดขึ้นตามมา โดยมีหลักการแต่งประโยค ดังนี้
·      เหตุการณ์ใดเกิดก่อนใช้ Future Perfect Tense
(S + will, shall + have + V.3)
          ·       เหตุการณ์ใดเกิดทีหลังใช้ Present Simple Tense
             (S + Verb 1)                        
เช่น 
              -             The play will have started before we reach the theater.
              -              He will have left home when the mail arrives tomorrow. 
  
2)                ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ณ เวลาใดเวลาหนึ่งตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในประโยค และคำหรือกลุ่มคำที่นำมาใช้ร่วม จะนำหน้าด้วยบุรพบท “by” เสมอ เช่น  by tomorrow, by next week, etc. เช่น
              -              I shall have finished my work by dinner time.
              -              By the end of March the Browns will have been here for two years.

3)                ใช้เพื่อแสดงความสงสัยว่า คงจะอย่างนั้น อย่างนี้แล้วก็ได้”     เช่น
              -              I expect you will have heard that Ladda is going to be married next month.
              -              It’s five o’clock: they will have arrived home by now.         

     Future Perfect Continuous Tense
                  
                     Structure : Subject + will, shall + have + been + V.ing


                          หลักการใช้  Future Perfect Continuous Tense มีดังนี้

1)                ใช้ Future Perfect Continuous Tense กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นและดำเนินต่อเนื่องกันไปในอนาคต   เช่น
             -              By next March I will have been teaching in this university for three years.
             -              Usa will have been working for South – East Asia university for 15 years by next month.
             -              My son will have been sleeping for 4 hours by the time I get home.
             -               By next November I shall have been living here for four years.

2)                แบบมีสองเหตุการณ์
·      เหตุการณ์ที่ได้ดำเนินมาแล้วระยะหนึ่งใช้    Future Perfect Continuous 
·      อีกเหตุการณ์หนึ่งใช้    Present Simple   
เช่น
-              You will have been waiting for two hours when the plane arrives.
-              They will have been sleeping for three hours by the time their parents get home.

*** เปรียบเทียบ Future Perfect Tense กับ Future Perfect Continuous Tense เช่น
              -              In December I will have been writing this book for seven months.
              -              I will finish this book in January next year when I will have written this book for eight months.
                      การศึกษาเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเนื้อหาพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับ Tense ซึ่งมีทั้งสิ้น 12 Tense แบ่งเป็น ปัจจุบัน (present), อดีต (past) และ อนาคต (future) การศึกษาและจำในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ดิฉันคิดว่าการที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดได้ ควรทำความเข้าใจไปทีละ Tense รวมทั้งฝึกทำแบบทดสอบของแต่ละ Tense ฝึกแต่งประโยคในแต่ละ Tense รวมทั้งฝึกอ่านและฝึกพูดในสถานการณ์ที่พบเจอจริงๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับ Tense ทั้งหมดได้มากกว่า และเมื่อผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจในเรื่อง Tense ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถสร้างประโยคหรือข้อความต่างๆ รวมทั้งแปลประโยคหรือข้อความต่างๆ ได้ดีและสละสลวยเช่นกัน ถึงแม่ว่าชาวต่างชาติจะคิดว่าหลักไวยากรณ์ไม่สำคัญเท่ากับทักษะการพูด แต่สำหรับคนไทยที่ไม่ได้มีภาษาอังกฤษเป็นแม่แบบ คิดว่า การศึกษาในเรื่องของหลักไวยากรณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคนไทยส่วนใหญ่ล้วนกลัวว่าถ้าหากพูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์ ไม่ถูก Tense ชาวต่างชาติจะไม่เข้าใจ ฉะนั้น สำหรับดิฉัน คิดว่าการศึกษาในเรื่องของ หลักไวยากรณ์ ในเรื่อง Tense เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าหาก ดิฉันมีความแม่นยำในเรื่องเหล่านี้ ดิฉันก็จะสามารถพัฒนาทักษะอื่นๆได้ดีขึ้นด้วย สามารถเขียน เกี่ยวกับภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น และสิ่งเหล่านี้ ดิฉันถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้ดิฉันมีความมั่นใจและกล้าที่จะพูดและใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น




v



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น