Learning
log
Sixth:
(15th September, 2015)
การศึกษาเป็นการสร้างคนให้มีความรู้
ความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม
มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้
การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม
การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น
ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ
ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย
การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี
มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญ คือ เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้
และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา
การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย
12 ปี
จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ
รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพของตน
ซึ่งการศึกษาไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย
มีเทคโนโลยีสอดแทรกเข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมทางด้านการศึกษาอย่างครบครัน จนบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีต่างๆเป็นตัวแทนของครูผู้สอนในการเรียนการสอนก็เป็นได้
แต่การที่มีเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยเช่นกัน
ซึ่งถ้าหากบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม
เทคโนโลยีต่างๆก็จะให้ผลตอบแทนที่ดี
แต่ถ้าบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด หรือไปในทางที่ไม่เหมาะสม
เทคโนโลยีเหล่านั้นก็จะเกิดโทษมากมายเช่นกัน ต่อไปประเทศไทยก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ซึ่งทุกคนทุกฝ่ายจะต้องมีความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษทั้งทฤษฎีและทางปฏิบัติ คือ
มีความชำนาญในด้านทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นอย่างดีเพื่อการทำงานและการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
ฉะนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะต้องช่วยกันพัฒนาการศึกษาไทยให้พัฒนาเท่าทันกับนานาประเทศ
การศึกษาไทยในปัจจุบันซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในการจัดการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(Ordinary National Educational Test: O-Net) ในทุกๆปีนั้น ผลที่ออกมามักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆปี นั่นก็คือ
เด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่เสมอๆ ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง
อาจเกิดจากครูหรืออาจารย์ยังไม่มีคุณภาพที่เพียงพอ ครูที่จบมาสอนบางท่านยังไม่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน
หรือยังไม่มีความแม่นยำในเนื้อหาที่ตนสอน จึงส่งผลให้ผู้เรียนรับสารแบบผิดๆจึงนำไปใช้ในทางที่ผิดด้วย
ซึ่งครูนั้นเป็นต้นแบบที่นักเรียนเชื่อถือได้ที่สุด
หากครูไม่แม่นในเนื้อหาก็จะทำให้นักเรียนไม่แม่นในเนื้อหาเหล่านั้นด้วย
หรืออีกประเด็นหนึ่งคือ ครูส่วนใหญ่จะสอนเพียงเพราะหน้าที่ เป็นการสอนให้พอผ่านๆ
ซึ่งไม่ได้มีจรรยาบรรณในความเป็นครูอย่างแท้จริง และไม่ได้ใช้จิตวิญญาณของความเป็นครูในการสอน
รวมทั้งครูบางท่านให้เวลาสำหรับการสอนในห้องเรียนเพียงไม่มาก
แต่จะจัดสอนพิเศษเพื่อเป็นการสอนเพิ่มเติม
เป็นการหารายได้เสริมจากนักเรียนโดยเป็นการโปรโมทว่าถ้านักเรียนไปเรียนพิเศษจะได้เกรดที่ดีๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะครูไม่มีจรรยาบรรณของความเป็นครูอย่างแท้จริง
เพราะครูที่แท้จริงคือผู้ให้ ให้โดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆเลย และอีกเหตุผลหนึ่ง
คือ รายได้ของอาจารย์หรือครูยังอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงขาดแรงจูงใจที่จะยึดอาชีพอาจารย์หรือครู
ทั้งนี้ในนานาอารยประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา
อาจารย์หรือครูมีรายได้ที่สูงมากเพราะมีภาระหน้าที่สำคัญในการสร้างคน และอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหากับผู้เรียน
คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ดูเหมือนจะเป็นการช่วยพัฒนาในด้านการศึกษา
แต่ในบางส่วนสำหรับบุคลากรทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็นครูผู้สอน
หรือผู้เรียนที่ใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิดหรือใช้มากเกินไปจนลืมสื่อหรือวิธีการเรียนในแบบเก่าก็อาจจะส่งผลเสียต่อการเรียนดังกล่าวได้เช่นกัน
ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในไม่ช้านี้
การพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าเท่าเทียมกับนานาประเทศจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพัฒนาการศึกษาเพื่อไม่ให้เป็นที่ติเตียนว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาทางด้านการศึกษา
ซึ่งในขณะนี้ประเทศในกลุ่มอาเซียน ในด้านคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถเรียงตามลำดับคุณภาพการศึกษาที่ดีที่สุดไปหาน้อยที่สุด
มีดังนี้ อันดับ 1 สิงคโปร์ อันดับ 2 บรูไน อันดับ 3 มาเลเซีย อันดับ 4
อินโดนีเชีย อันดับ 5 ฟิลิปปินส์ อันดับ 6 ลาว อันดับ 7 ไทย อันดับ 8 เวียดนาม
อันดับ 9 กัมพูชา และอันดับ 10 พม่า
ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่พึ่งพัฒนา
สาเหตุดังกล่าวนี้จะต้องแก้ไขโดยครูผู้สอนซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาการศึกษา
เพราะครูคือ แม่พิมพ์ของชาติ ครูเป็นอย่างไร สอนอย่างไร ผู้เรียนส่วนใหญ่ย่อมเป็นเช่นนั้นด้วย
ซึ่งวิธีแก้ไขคือ ครูจะต้องมีความมุ่งมั่นในการสอนให้มากกว่านี้
ครูจะต้องระลึกอยู่เสมอว่าครูคือผู้ให้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
ครูคือผู้สร้างคน คนจะดี จะชั่ว จะเก่ง จะไม่เก่ง เพราะครูผู้สอนเป็นส่วนหนึ่งและส่วนใหญ่ในการพัฒนานักเรียนของครูให้เป็นคนดี
คนเก่ง ของครู ของครอบครัว ของเพื่อนและของสังคม
รวมทั้งเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ในภายภาคหน้า นอกจากนี้
ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญและแม่นยำในศาสตร์ของตน
รวมทั้งมีความชำนาญในด้านทักษะ ทั้ง การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
เพราะจะเป็นฐานที่ดีในการฝึกฝนและการสอนผู้เรียนให้มีความเข้าใจและเกิดความชำนาญในด้านทักษะเหล่านี้ด้วย
ในการสอนแต่ละครั้งครูจะต้องตระหนักว่ายิ่งครูผู้สอนจริงใจและสร้างความเชื่อมั่นให้นักเรียนมากเพียงใด
นักเรียนก็จะเชื่อใจและสามารถรับฟังเนื้อหาและทักษะการสอนของครูมากเท่านั้นด้วย
อาจกล่าวได้ว่าถ้าครูซึ่งเป็นต้นแบบทางการศึกษาที่จริงจังและมุ่งมั่นในการเรียนการสอนแต่ละครั้งเป็นอย่างดี
ก็จะทำให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจเรียนด้วยเช่นกัน
อีกทั้งผู้เรียนก็จะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายจากการสอนของครู
การศึกษาของประเทศไทย
หากมีบุคลากรทางการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ มีจรรยาบรรณและมีใจรักในอาชีพของตนแล้ว
อันดับต่อไปที่ควรเพิ่มเติมเพื่อให้การศึกษาไทยได้พัฒนาก้าวทันนานาประเทศ คือ
การสอนที่มีการบูรณาการจากการสอนแบบเดิมและเพิ่มเติมด้วยวิธีการใหม่ๆ
ซึ่งการสอนที่ดีจะต้องใช้การสอนที่เป็นแบบนิรนัย คือ แนวคิดกระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ
ทฤษฎี หลักเกณฑ์ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน
จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี หลักการ
หลักเกณฑ์ กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี
กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล
ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ทฤษฎี ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง
การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด และการสอนแบบอุปนัย คือ เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์
กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ
ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง
เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่างๆ
เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป ความมุ่งหมายของการสอนแบบอุปนัย คือ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญๆ
ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิดต่างๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการสอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งการสอนทั้งสองประเภทจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผู้เรียนเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ในการเรียนภาษาอังอังกฤษไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม
ผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์ไว้มากๆ
เพื่อเป็นคลังคำศัพท์ของตัวผู้เรียนเอง
ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษในทุกๆทักษะได้เป็นอย่างดี
หรืออาจกล่าวได้ว่าในการเรียนภาษาอังกฤษหากผู้เรียนรู้คำศัพท์มากก็จะทำให้ได้เปรียบเป็นอย่างมาก
การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ซึ่งการศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง
มีหลากหลายรูปแบบให้มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็วโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของไทย
เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคใหม่ที่ไร้ขอบเขตภายใต้จินตนาการของมนุษย์ที่สร้างขึ้น
การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา จะเห็นได้ว่า สถานศึกษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง
ขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ สิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ คอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ต สถานศึกษาทุกแห่งมีความต้องการใช้เท่า ๆ กัน
ความรู้ความเข้าใจที่ทุกคนต้องเข้าไปให้ถึงโลกแห่งสังคมการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีเป็นจะทำให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุดต่อตัวเอง แต่ในทางกลับกันหากใช้อย่างผิดวิธี
ก็อาจทำให้เกิดความสูญเสีย ก็เป็นได้
ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการศึกษาไทยที่ไม่มีการพัฒนาเท่าเทียมกับนานาประเทศ
อาจจะเกิดจากตัวผู้เรียนและตัวผู้สอนในการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดและใช้มากเกินไปจนลืมวิธีการเรียนแบบเก่าที่มีมาช้านาน
ฉะนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในทุกๆฝ่าย
จะต้องร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาไทยให้เท่าเทียมกับนานาประเทศและเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างน่าภาคภูมิใจโดยไม่ด้อยกว่าประเทศใดๆ
ซึ่งจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ ผู้สอนจะต้องมีความมุ่งมั่นในการสอนให้มากกว่านี้
ครูจะต้องระลึกอยู่เสมอว่าครูคือผู้ให้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
เพราะครูผู้สอนเป็นส่วนหนึ่งและส่วนใหญ่ในการพัฒนานักเรียนของครูให้เป็นคนดี
คนเก่ง รวมทั้งเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ในภายภาคหน้า
ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญและแม่นยำในศาสตร์ของตน
รวมทั้งมีความชำนาญในด้านทักษะ ทั้ง การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
เพราะจะเป็นฐานที่ดีในการฝึกฝนและการสอนผู้เรียนให้มีความเข้าใจและเกิดความชำนาญในด้านทักษะเหล่านี้ด้วย
การสอนที่มีการบูรณาการจากการสอนแบบเดิมและเพิ่มเติมด้วยวิธีการใหม่ๆ
ซึ่งการสอนที่ดีจะต้องใช้การสอนที่เป็นแบบนิรนัย คือ เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด
และการสอนแบบอุปนัย คือ เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ ซึ่งการสอนทั้งสองประเภทจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผู้เรียนเป็นอย่างมาก และที่สำคัญผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์ไว้มากๆ
เพื่อช่วยในการพัฒนาทักษะต่างๆ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้การศึกษาไทยพัฒนาเท่าเทียมกับนานาประเทศ
โดยปราศจากปัญหาต่างๆข้างต้นที่กล่าวมา
อีกทั้งการศึกษาที่ดีย่อมเกิดจากผู้เรียนที่ดี ซึ่งหากประเทศชาติมีประชากรที่ดีก็จะเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาประชาติให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น